ReadyPlanet.com


เสียการค้า/เสียรายได้


 

ขอเรียนปรึกษาดังนี้คะ
เนื่องจากจะมีการสร้างรถไฟฟ้า จึงต้องมีการเวณคืนที่ดินในส่วนที่มีผลกระทบ บ้านของดิฉันไม่ได้โดยเวนคืนที่ดินคะ แต่มีเสาขนาดใหญ่ขึ้นในพื้นที่ของ กทม. แล้วเสาก็ดันมาบังหน้าบ้านของดิฉันพอดี จากตัวบ้านห่างจากเสาประมาณ 1- เมตร ซึ่งบ้านนี้ใช้หน้าร้านค้าขายด้วย คาดว่าช่วงระหว่างการก่อสร้าง และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ 
จะมีผลกระทบต่อการค้า
 เหมือนเสียหน้าร้าน เสียทำเล ไปเลยคะ  แถมยังเสียฮวงจุ้ยอีกด้วย     ในกรณีแบบนี้ต้องยอมรับสภาพใช่ไหมคะ  โปรดแนะนำแนวทางให้ด้วยคะ  ต้องทำยังไงบ้าง คะ 
เพื่อนบ้านแนะนำให้คุยเรื่องการสูญเสียรายได้ แต่ใจจริงอยากให้เลื่อนเสามากกว่าคะ
ในเบื้องต้นได้คุยกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พอเห็นว่าไม่โดนเวนคืนเค้าก็ไม่สนใจอะไร
ขอบคุณล่วงหน้า นะคะ
ด้วยความเคารพ


ผู้ตั้งกระทู้ น้ำ :: วันที่ลงประกาศ 2011-10-21 14:02:50 IP : 202.28.180.202


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3305826)

ขอตอบคำถามคุณน้ำดังนี้นะคะ

การก่อสร้างรถไฟฟ้าป็นการสร้างเพื่อบริการสาธาระประโยชน์แก่สังคมเพื่อความเจริญของท้องถิ่น เป็นการกระทำของหน่วยงานภาครัฐ  และการที่มีเสา มาปักตรงหน้าร้าน ของคุณน้ำ  พอดีนั้น  ต้องดูว่า เป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่คุณน้ำหรือไม่   ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่า  หากมีบุคคใดใช้สิทธิของตนอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหาย  หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคำนึงประกอบไซร้  ท่านว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิจะปฏิบัติการเพื่องยังความเสียหายหรือเดือนร้อนนั้นให้ระงับสิ้นไป 

ส่วนข้อเท็จริงนั้นเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำมาพิจารณาค่ะว่า คุณน้ำได้รับความเดือดร้อน เกินกว่าที่คาดหมายหรือไม่ หรือเพียงไม่ได้รับความสะดวก ค่ะ 

ต่อมานะคะการที่คุณน้ำคาดว่า ช่วงก่อสร้าง คุณน้ำจะได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโดยมีผลกระทบต่อร้านค้า  ก็ต้องดูข้อเท็จจริงเพิ่มเติมค่ะว่า เสียหายแค่ไหนอย่างไร หรือเป็นเพียงการคาดหมาย  จากผลที่จะเกิดจากการก่อสร้าง ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องลงไปในรายละเอียดค่ะ

โดยทางทีมงานได้ ค้นคว้าแนวคำพิพากษามาเปรียบเทียบให้คุณน้ำดูนะคะว่า  แบบใดที่คุณน้ำจะปฏิบัติการเพื่องยังความเสียหายหรือเดือนร้อนนั้นให้ระงับสิ้นไป  โดยอาจเรียกค่าเสียหายหรือวิธีการอื่นใดค่ะเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนได้ค่ะ

โดยเทียบเคียงดังนี้ค่ะ

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2528  
จำเลยสร้างสะพานลอยเพื่อให้ประชาชนใช้ข้ามถนน โดยมีแนวโครงเหล็กบนทางเท้าเป็นรั้วปิดกั้นช่วงทางบางตอน เพื่อมิให้คนข้ามถนนในแนวนั้นและหันไปใช้สะพานลอยข้าม อันเป็นการกระทำเพื่อสาธารณะประโยชน์ และเป็นการป้องกันมิให้โจทก์กระทำผิดกฎหมายดยขับขี่รถยนต์บนทางเท้า แม้แนวโครงเหล็กจะปิดกั้นทางเข้าตึกแถวของโจทก์ ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์และโดยสภาพไม่เหมาะแก่การเก็บรถยนต์ ทำให้โจทก์ต้องขาดความสะดวกสบายไปบ้าง โจทก์ก็จำต้องยอมรับเอาดังเช่นบุคคลอื่นที่อยู่ร่วมกับโจทก์ในสังคมยอมรับ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความเจริญของท้องถิ่น เมื่อไม่ปรากฏว่าความเสียหายหรือเดือดร้อนที่โจทก์ได้รับ เป็นผลที่ต้องยอมรับตามปกติหรือเป็นความเสียหายเดือดร้อนที่ได้รับเกินกว่าปกติ การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ และไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
และ
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2523  
จำเลยสร้างสะพานลอยกีดขวางทางเข้าออกบ้านโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปได้ ถึงแม้จำเลยจะสร้างสะพานลอยเพื่อสาธารณประโยชน์และโจทก์จะมีสิทธินำรถยนต์เข้าออกระหว่างถนนกับบ้านโจทก์โดยผ่านทางเท้าหรือไม่ก็ตาม การที่จำเลยสร้างสะพานลอยดังกล่าวก็เป็นการละเมิดต่อโจทก์
ผู้แสดงความคิดเห็น ทีมงาน joolaw (sugarcane_61-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-23 14:01:07 IP : 202.91.18.170



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล