ReadyPlanet.com


ขอถามเพิ่มเติมอีกนิดค่ะ


รบกวนคุณทนายอีกนิดนะค่ะ  ยังสงสัยในคำตอบข้อ 2 ก่อนหน้านี้ค่ะ

2. แล้วถ้าทรัพย์สินยังมีภาระหนี้สิน ตามก.ม ลูกๆ ก็ต้องรับผิดชอบต่อร่วมกันด้วยหรือเป่า  ถ้าใช่ แล้วเกิดลูกคนใดคนนึง ปฏิเสธในการร่วมชำระภาระหนี้  กรรมสิทธิ์ทรพัย์สินจะถือว่า ตกให้กับลูกคนที่รับภาระหนี้ต่อหรือเป่าค่ะ

ตอบ    ทายาทผู้รับมรดกไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน  ( ตาม ป.พ.พ.  1601  ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน )

 

คำถามคือ เช่น ถ้าบ้านที่อาศัยปัจจุบัน มีภาระหนี้สินกับแบงค์ หรือต่อบุคคลธรรมดา เมือ่บิดามารดาเสียชีวิต บ้านหลังนั้น จะตกแก่ทายาททุกคน มีสิทธิ์ร่วมกัน  แล้วอย่างนี้ ลูกๆ ต้องขำระหนี้ต่อ ถ้าไม่ให้ถูกธนาคารยึด หรือถูกฟ้องร้องจากเจ้าหนี้   เข้าใจแบบนี้ถูกต้องไหมค่ะ 

หรือถ้า ลูกคนใดคนนึง ยอมรับภาระหนี้สินต่อของบ้านหลังนี้ เขาผู้นั้นจะมีสิทธิ์ถือครอบครองบ้านเป็นกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวหรือเป่า ( ถ้าลูกๆ คนอื่นไม่มีความสามารถในการช่วยชำระหนี้ต่อ)

รบกวนช่วยอธิบายเพิ่มเติมอีกนิดค่ะ ยังไม่ค่อยเข้าใจถ้าเกิดกรณีแบบนี้หนะค่ะ 



ผู้ตั้งกระทู้ หมูน้อย :: วันที่ลงประกาศ 2011-05-11 09:20:07 IP : 124.120.221.32


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3291853)

1.ถ้าบ้านที่อาศัยปัจจุบัน มีภาระหนี้สินกับแบงค์ หรือต่อบุคคลธรรมดา เมือ่บิดามารดาเสียชีวิต บ้านหลังนั้น จะตกแก่ทายาททุกคน มีสิทธิ์ร่วมกัน  แล้วอย่างนี้ ลูกๆ ต้องขำระหนี้ต่อ ถ้าไม่ให้ถูกธนาคารยึด หรือถูกฟ้องร้องจากเจ้าหนี้   เข้าใจแบบนี้ถูกต้องไหมค่ะ 

คำตอบ   ถูกต้องแล้วครับ

2.หรือถ้า ลูกคนใดคนนึง ยอมรับภาระหนี้สินต่อของบ้านหลังนี้ เขาผู้นั้นจะมีสิทธิ์ถือครอบครองบ้านเป็นกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวหรือเป่า ( ถ้าลูกๆ คนอื่นไม่มีความสามารถในการช่วยชำระหนี้ต่อ)

คำตอบ  ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกทั้งหมดครับ เพราะบ้านหลังดังกล่าวเป็นมรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งให้กับทายาท ทายาททุกคนเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง  ควรตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อให้มีอำนาจดำเนินการในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายจะดีกว่า

ผู้แสดงความคิดเห็น ทีมงาน JOLLAW วันที่ตอบ 2011-05-18 19:25:59 IP : 110.171.14.162



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล