ReadyPlanet.com


ต้องการถอดหมั้น


ขอรบกวนสอบถามค่ะ เนื่องจากดิฉันได้หมั้น ประมาณ 5 ปี และได้จดทะเบียนสมรส กันแล้ว แต่ยังไม่ได้จัดงานแต่งงาน แต่เราสองคนไม่ได้อยู่ด้วยกัน มา 5 ปี  แล้ว และภายในปีนี้ ผู้ใหญ่ฝ่ายชายต้องการให้เราจัดงานแต่งงาน แต่ ดิฉันไม่ต้องการแต่งและต้องการเลิกกับฝ่ายชาย  ทางฝ่ายผู้ชาย แย้งว่าดิฉันผิดสัญญาหมั้น จะเรียกสินไหม เป็น 2 เท่า จากสินสอดที่เราตกลงกัน และขอของหมั้นคืน  แต่ในระหว่าง 5 ปี ฝ่ายชายถามเลิกมาตลอดในช่วงนั้นดิฉันไม่แน่ใจ จึงไม่ตอบตกลงไป  แต่เดี่ยวนี้ดิฉันคิดว่า เราสองคนควรจะเลิกลากันดีกว่า ค่ะ ดิฉันขอคำแนะนำค่ะ

 

1.ฝ่ายชายยังสามารถเรียกค่าสินไหม และ ของหมั้นคืนได้มั้ยค่ะ ในเมื่อเราได้มีการจดทะเบียนสมรสเรียบร้อย ถึงแม้ไม่ได้จัดงานแต่งงาน ค่ะ

ด้วยความนับถืออย่างสูง

 



ผู้ตั้งกระทู้ มะนาว (tippawan-dot-nsd-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2012-01-26 13:31:39 IP : 210.213.59.191


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3315927)

ขอตอบคำถามคุณมะนาวโดยขออธิบายดังนี้ นะครับ

ก่อนอื่นของอธิบายว่าการผิดสัญญาหมั้น หมายถึง การที่คู่หมั้นฝ่ายหนึ่งปฏิเสธไม่ยอมทำการสมรสกับคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง 

การสมรถตามกฎหมายของไทยนั้นมีได้เมื่อมีการจดทะเบียนสมรส  ดังนั้นในกรณีของคุณมะนาวเมื่อมีการจดทะเบียนสมรถกันแล้วแม่ว่าไม่มีการจัดงานแต่งงานก็ถือว่ามีการสมรสกันตามประมวลกฎหมายของไทยว่าด้วยเรื่องครอบครัวแล้วครับ

กรณีเรื่องที่คุณกังวลในเรื่องของหมั้น

จะขอคืนได้เมื่อมีการผิดสัญญาหมั้น  การผืดสัญญาหมั้นคือ ไม่มีการสมรส  หากฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายหญิงก็ไม่ต้องคืนของหมั้น  แต่หากฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้น  ฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย  กรณีมีกฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 1439 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน  ในกรณีที่ฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย"

ดังนั้นกรณีของคุณมะนาว  เมื่อมีการสมรสแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาหมั้นครับไม่ต้องคืนของหมั้น

กรณีต่อมาเรื่องสินสอด

สิดสอด   เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา  ฝ่ายหญิงเป็นค่าตอบแทนที่ผู้ใหญ่ทางฝ่ายหญิงได้เลี้ยงดูหญิงมา  จนได้มีการสมรสกับฝ่ายชาย   

และการเรียกคืนสินสอด  ก็มีได้ในกรณีต่อไปนี้  ครับ

1. ถ้าไม่มีการสมรส  โดยมีเหตสำคัญอันเกิดแก่หญิงทำให้ฝ่ายชายไม่สมควรสมรสกับหญิงนั้น

2. ถ้าไม่มีการสมรสโดยพฤติการณืที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ  ทำให้ฝ่ายชายไม่สมควรสมรสหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น

ดังนั้นในกรณีการเรียกคืนสินสอดของคุณมะนาว  ในเมื่อมีการสมรสกันตามกฎหมายแล้ว  ก็ไม่อาจเรียกคืนได้ครับ

           ส่วนเรื่องของการเรียกค่าทดแทนเมื่อไม่มีการผิดสัญญาหมั้นก็ไม่อาจเรียกได้ครับ

            แต่เมื่อคุณสองคนได้มีการสมรสกันโดยการจดทะเบียนสมรสแล้ว

ในกรณีนี้ก็เกิดความสัมพันธืทางกฎหมายคือการเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย  

           คือ 1.ต้องอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภริยาตรับ  

            2. ต้องดูแลช่วยเหลืออุปการะซึ่งกันและกัน 

            แต่ในกรณีของคุณมะนาว  ข้อเท็จจริงมิได้อยู่ด้วยกันมาเป็นเวลาถึงห้าปี   

โดยไม่ทราบว่าฝ่ายใดจงใจทิ่งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไป   โดยมีบทบัญญัติของกฎหมายสันบสนุน ดังนี้ครับ

            มาตรา 1516 (4) สามีหรือภริยาจงใจทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี  อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้"

และท้ายสุดเมื่อมีการหย่ากันแล้ว  ก็ต้องมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยากันด้วยครับ 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ท.ธีรภัทร์ 0815666656 (ttapjan-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-01-26 19:36:45 IP : 125.26.33.240



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล