ReadyPlanet.com


ขอคำปรึกษาคดีกองมรดก


ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ นาย ช. มีบุตรทั้งสิ้น ๙ คน เป็นเจ้าของมรดก มีทรัพย์สินเป็นที่ดินจำนวน ๔ ไร่ โดยประมาณ เกิดล้มป่วยเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลจึงมีการเรียกขายสินทรัพย์ดังกล่าว ตามราคาในขณะนั้น ประมาณไร่ละ หนึ่งล้านสองแสนบาท ต่อมานาย ป. (บุตรลำดับที่ ๕) ได้ติดต่อ แนะนำนาง ก. มาซื้อสินทรัพย์แปลงดังกล่าว โดยวางมัดจำไว้เป็นเงิน สองล้านบาทถ้วน แต่ด้วยความเชื่อใจจึงไม่ได้มีการทำสัญญา ในการนี้มีนาย ว. (บุตรลำดับที่ ๖) เป็นผู้กระทำการแทนนายช. เนื่องจากนาย ช. อยู่ในภาวะการณ์ที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ โดยนาย ว. แจ้งว่าจะขายให้นาง ก. เมื่อทำการตกลงจะซื้อจะขาย นาง ก. ได้วางเงินมัดจำไว้จำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาทถ้วน) แยกเป็นเช็คสั่งจ่าย ๑,๐๐๐,๐๐๐ (หนึ่งล้านบาทถ้วน) และเงินสด ๑,๐๐๐,๐๐๐ (หนึ่งล้านบาทถ้วน) มาทางนาย ป. ต่อมา นายช. ได้ถึงแก่กรรม เมื่อกุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ นาย ว. ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้จัดการพิธีศพจนเป็นที่เสร็จสิ้น ต่อมา นาย ว. มีการประชุมบรรดาบุตร ลงมติปฏิเสธการขายสินทรัพย์แปลงดังกล่าว โดยให้นาย ป. ทำการส่งมอบเช็คคืนเป็นจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ (หนึ่งล้านบาทถ้วน) ส่วนเงินอีก ๑,๐๐๐,๐๐๐ (หนึ่งล้านบาทถ้วน) ที่นำไปใช้ในการพิธีศพและภาระหนี้ค่ารักษาตัวก่อนเสียชีวิตของนาย ช. นาย ว. แจ้งให้นาย ป. บอกกล่าวกับนาง ก. ว่าหากขายสินทรัพย์ได้เมื่อไหร่จะชดใช้คืน โดยนาย ป. บอกกล่าว กับนาง ก. ทราบ นาง ก.จึงแจ้งว่าจำนวนเงิน หนึ่งล้านบาทที่ยังไม่ส่งคืน ให้ถือว่าเงินดังกล่าวถือเงินกู้ คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือน โดยนาย ป. เป็นผู้รับผิดชอบจำนวนเงินจำนวนนี้ ที่นำมาให้นาย ว. ใช้จ่ายในการพิธีศพและค่ารักษาของนาย ช. ก่อนเสียชีวิต และนาย ป. ได้แจ้งทราบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวรวมทั้งอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือนให้แก่นาย ว. ทราบ นาย ว. แจ้งว่ารับทราบ อีกทั้งบอกว่าถ้าขายที่ดินแปลงดังกล่าวได้เมื่อไหร่จะทำการใช้คืนให้โดยมีการแจ้งทราบในที่ประชุมบุตรทั้งหมดในวันจัดการงานศพนาย ช. หลังจากนั้นนาย ว. ได้ยืดเยื้อเวลา ไม่ทำการขายสินทรัพย์ดังกล่าวล่วงเลยต่อมาเป็นเวลา ๖ ปี โดยนาย ป. ได้ติดตามทวงถามต่อนาย ว. มาโดยตลอดก็ได้รับการบ่ายเบี่ยงบอกว่ายังขายที่ดินไม่ได้ อีกทั้งเมื่อมีการเรียกประชุมบุตร ทั้ง ๙ คน ในที่ประชุมมีการปฏิเสธการรับเงินจำนวนดังกล่าว บอกว่าไม่มีหลักฐาน โกงเสียก็ได้ ต่อมาเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นาย ว. ได้ไปร้องขอต่อศาลแพ่งเพื่อร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในส่วนของนาย ช. ตามคดีแดงมีนาย ป. ไปร่วมฟังและคัดค้านการจัดตั้งนายชาญเป็นผู้จัดการมรดก ศาลสอบถามนาย ป. ว่าเหตุใดจึงคัดค้าน นาย ป. ให้เหตุผลว่านาย ว. ส่อพิรุธว่าจะมีการโกงเงินจำนวนดังกล่าวจึงขอคัดค้าน ต่อมาเมื่อศาลสอบถามนาย ว. นาย ว. ยอมรับว่ามีการนำเงินไปใช้จริง ศาลจึงบอกนาย ป. ว่าศาลรับรองให้ ถ้าเกิดนาย ว. ไม่ชดใช้คืนให้มาร้องต่อศาล นาย ป. จึงลงชื่อยินยอมในการจัดตั้งนาย ว. เป็นผู้จัดการมรดก ภายหลังที่จัดตั้งนาย ว. เป็นผู้จัดการมรดกทราบความว่าได้ชี้แจงต่อศาลว่านาย ช. ไม่มีหนี้สิน ต่อมาเมื่อเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๘ นาย ว. ได้เรียกประชุมบุตรทั้ง ๙ คน แจ้งทราบว่ามี นาง น.มาติดต่อขอซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวผ่านนาย ร. (บุตรลำดับที่ ๙) และในที่ประชุมตัดสินใจขายที่ดินแปลงดังกล่าวในราคา ไร่ละหนึ่งล้านหกแสนบาท นาย ป. จึงได้แจ้งในที่ประชุมเรื่องเงินจำนวน หนึ่งล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย แต่ก็ยังได้รับการปฏิเสธ นาย ป. จึงได้ไปติดต่อที่ศาลแพ่งเพื่อขอตรวจสอบข้อมูลตามคดีแดงที่ศาลตัดสินไว้ตอนที่นาย ว. ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ปรากฎว่าไม่มีการบันทึกข้อมูลที่ศาลให้คำรับรองเรื่องเงินจำนวนหนึ่งล้านบาท ต่อมาเมื่อ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ นาย ว. ได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้กับนาง น. ในราคาประมาณ ๖,๓๐๐,๐๐๐ บาท (หกล้านสามแสนบาท) ณ สำนักงานที่ดินหนองจอก นาย ป. ได้ไปติดตามเรื่องการขายที่ดินและทวงถาม นาย ว.ได้บอกว่า นาง น.สั่งจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวผ่านเช็คธนาคารฯ แถวสำโรง จึงยังไม่สามารถจ่ายเงินได้ เย็นวันเดียวกัน นาย ว. ได้มาติดต่อนาย ป.เพื่อคืนเงินหนึ่งล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยที่ไม่เป็นไปตามที่ตกลง นาย ว. แจ้งว่าเอาเงินไปแบ่งหมดแล้วเหลือแค่นี้ นาย ป.ไม่ทราบเรื่องที่เอาเงินไปแบ่งกัน จึงได้คุยในรายละเอียดและขอให้นาย ว. ไปตรวจสอบจำนวนเงินที่ได้ติดตามทวงถาม เป็นจำนวน ๒,๒๙๐,๐๐๐บาท (สองล้านสองแสนเก้าหมื่นบาทถ้วน) ต่อมานาย ว. กลับไปแจ้งในที่ประชุมทราบและส่อแววว่าจะไม่ชดใช้เงินจำนวนดังกล่าว นาย ป. จึงดำเนินการประสานงานสภาทนาย แต่ได้รับคำปรึกษาไม่ชัดเจนเท่าที่ควร นาย ว. ทราบเรื่องที่นาย ป. ปรึกษาทนายจึงได้แจ้งให้นาย ป. เข้าไปรับเงิน จำนวน ๑,๓๐๐,๐๐๐ (หนึ่งล้านสามแสนบาทถ้วน) ผ่านทางนาง ส. ภรรยาของนาย ว.โดยสั่งจ่ายเป็นแคชเชียร์เช็ค นาย ป.เข้าไปรับเช็คจำนวนดังกล่าวไว้เพื่อให้เป็นหลักฐานว่านาย ว. ยอมรับสภาพที่มีการนำเงินไปจริง และนาย ป. ได้ไปสถานีตำรวจนครบาล เพื่อขอลงบันทึกประจำวันไว้ ว่าไม่ยอมรับในรายละเอียดที่นายชาญส่งมอบคืนเงินจำนวนดังกล่าวมา ขอเรียนสอบถามอาจารย์ทนายวินัยดังนี้ครับ - กรณีนี้นาย ป. จะติดตามเงินต้น พร้อมอัตราดอกเบี้ยทั้งจำนวนได้ไหมครับ - การที่นาย ป. เข้าไปรับเช็คคืนเงิน ถือว่าเป็นการประนีประนอมยอมความหรือไม่ครับ - กรณีนี้ ถ้าฟ้องร้องได้ นาย ว. จะฟ้องข้อหาอะไรได้บ้างครับ - นาย ว. มีมูลหนี้กับเจ้ามรดก แต่ทราบได้ว่าไม่มีการแจ้งต่อศาล กรณีนี้นาย ว. จะถูกร้องถอดถอนจากการเป็นผู้มรดกได้ไหมครับ - นาย ว. แจ้งต่อศาลว่านาย ช. ไม่มีหนี้สินก่อนเสียชีวิต เมื่อขายสินทรัพย์แล้ว ต้องมีการแบ่งปันเงินให้กับบุตรทุกคน หากนาย ว. ละเลย จะมีความผิดด้านใดบ้าง - ข้อมูลที่นาย ป.ให้การคัดค้านการจัดตั้งผู้จัดการมรดกหน้าบัลลังค์ มีการบันทึกไว้หรือไม่ครับ


ผู้ตั้งกระทู้ นายช่าง (naichangnm-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2015-09-03 14:18:02 IP : 27.55.237.7


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3437615)

หากเห็นว่า ผู้จัดการมรดกกระทำหน้าที่ไม่ชอบ  ก็สามารถร้องขอเพิกถอนการตั้งผู้จัดการมรดกได้ค่ะ ส่วนเรื่องที่สงสัยว่าจะมีการบันทึกไว้หรือไม่ ต้องไปตรวจที่สำนวนจึงจะทราบค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทีมงาน JOLLAW วันที่ตอบ 2015-09-11 21:52:07 IP : 58.9.207.26



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล