ReadyPlanet.com


การมีสิทธิในการรับโอนที่ดิน


มารดาเป็นเจ้าของที่ดิน สปก.4-01แล้วเสียชีวิต ข้าพเจ้าเป็นลูกสาวคนเดียวของมารดาและบิดาก็เสียชีวิตก่อนมารดา ข้าพเจ้ารับราชการเป็นครู แล้วจะได้สิทธิในมรดกต่อจากมารดาหรือไม่  (ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ สปก. ว่าให้โอนเป็นของน้องชายของมารดาซึ่งเป็นเกษตรกรแทน) ก็ยังงงๆอยู่ในเมือเราเป็นทายาทคนเดียวแล้วทำไมจึงจะไม่ได้สิทธิในการโอนมรดกของมารดาซึ่งข้าพเจ้าก็มีส่วนร่วมในการทำกินอยู่ตั้งแต่มารดามีชีวิตและก่อนสอบบรรจุเป็นครูได้ ถึงแม้ปัจจุบันน้ีเองก็ตาม ข้าพเจ้ารับราชการอยู่ต่างจังหวัดก็ยังดูแลและจ้างคนงานในการดูแลอยู่ตลอด

กรุณาช่วยตอบด้วยนะคะ



ผู้ตั้งกระทู้ สราญรัตน์ (saranrat-dot-ket-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-21 12:55:14 IP : 49.49.120.109


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3298090)

การรับมรดกที่ดินตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518


กฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้บัญญัติเรื่องการรับมรดกที่ดินไว้ในมาตรา 39 "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง"

การรับมรดกที่ดิน ส.ป.ก. นอกจากจะเป็นไปตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าวแล้ว ยังจะต้องเป็นไปตาม "ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535" อีกด้วย ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้

1. ผู้รับโอนและผู้รับมรดกตามระเบียบฉบับดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

    (1) ผู้นั้นรวมทั้งบุคคลในครอบครัวเดียวกันไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองเพียงพอแก่การครองชีพอยู่ก่อนแล้ว

    (2) เป็นผู้มีคุณสมบัติและอยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับคัดเลือกให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดไว้

2. เมื่อเกษตรกรรมถึงแก่กรรมให้สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อตกทอดแก่คู่สมรสเป็นอันดับแรก

    "คู่สมรส" หมายความรวมถึง ชายและหญิงที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ในขณะยื่นคำขอโอนสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ หรือขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายด้วย

3. ในกรณีที่ไม่มีคู่สมรส หรือคู่สมรสไม่ขอรับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อหรือไม่มีคุณสมบัติจะได้รับมรดกสิทธิตามระเบียบ ให้สิทธินั้นตกทอดแก่บุตร

4. หากมีบุตรหลายคนให้แยกพิจารณา ดังนี้

    (1) ถ้าตกลงกันได้ว่าจะให้บุตรคนใดเพียงคนเดียวเป็นผู้ได้รับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ ก็ให้เป็นไปตามข้อตกลง

    (2) ถ้าตกลงกันไม่ได้และที่ดินสามารถแบ่งแยกได้โดยเพียงพอแก่การครองชีพ ซึ่งจะต้องไม่น้อยกว่าเนื้อที่ถือครองขั้นต่ำที่ คปจ.(คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด) กำหนดไว้ ก็ให้จัดแก่บุตรเหล่านั้นตามส่วน

    (3) ถ้าตกลงกันไม่ได้และที่ดินไม่สามารถแบ่งแยกให้เพียงพอแก่การครองชีพตาม (2) ได้ครบจำนวนบุตร ให้ คปจ. พิจารณาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมจากบุตรเหล่านั้นเป็นผู้ได้รับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อตามจำนวนแปลงที่ดินที่อาจแบ่งแยกได้

5.ในกรณีที่บุตรคนใดตายก่อนผู้เช่าหรือผู้เช่าซื้อ ให้ผู้สืบสันดานโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรคนนั้นที่ประกอบเกษตรกรรมร่วมกับเกษตรกรนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือนมีสิทธิตาม 4(2) และ 4 (3) แทนที่ในฐานะบุตร

6. ในกรณีที่ไม่มีคู่สมรสหรือบุตร หรือบุคคลดังกล่าวไม่ขอรับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ หรือไม่มีคุณสมบัติจะได้รับมรดกสิทธิตามระเบียบ ให้สิทธินั้นตกทอดแก่เครือญาติได้ ถ้ามีเครือญาติดังกล่าวหลายคน ให้นำความในข้อ 4.และ 5. มาใช้บังคับโดยอนุโลม

7. "เครือญาติ" หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้

    (1) บิดาหรือมารดาของเกษตรกร

    (2) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของเกษตรกร

    (3) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาของเกษตรกร

         ทั้งนี้ บุคคลตาม (2) หรือ (3) ต้องเป็นผู้ที่ประกอบเกษตรกรรมร่วมกับเกษตรกรในที่ดินแปลงนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน

    (4) หลานของเกษตรกร

8.เกษตรกรจะกำหนดลำดับทายาทผู้ที่จะได้รับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินหากตนเองถึงแก่กรรมไว้ โดยมิให้เป็นไปตามข้อ 2.,3.,6.ก็ได้ โดยทำเป็นหนังสือตามแบบที่ ส.ป.ก.กำหนด ยื่นต่อ ส.ป.ก.จังหวัดไว้เป็นหลักฐาน

9.เกษตรกรจะกำหนดทายาทผู้ได้รับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินมากกว่าหนึ่งคนก็ได้ หากที่ดินสามารถแบ่งแยกแล้วเพียวพอแก่การครองชีพตามขนาดเนื้อที่ถือครองขั้นต่ำที่ คปจ. กำหนด และให้นำความในข้อ 3. 4.และ 5. มาใช้บังคับโดยอนุโลม

10. ถ้าเกษตรกรมีคู่สมรส การแสดงความประสงค์ตามข้อ 8. ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย

11. ทายาทที่เกษตรกรกำหนดให้เป็นผู้ได้รับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดิน จะต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 1.อยู่ในขณะที่เกษตรกรถึงแก่กรรมด้วย และหากทายาทตามที่ระบุไว้ในหนังสือดังกล่าวข้างต้นไม่มีคุณสมบัติตามข้อ 1. ให้นำความในข้อ 2., 3., 4., 5.และ 6 มาใช้บังคับเสมือนหนึ่งเกษตรกรไม่ได้แสคงวามประสงค์ดังกล่าว

12. ในกรณีที่บุคคลตามข้อ 3., 6., และข้อ 8. ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะรับโอนสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อได้เฉพาะเมื่อผู้นั้นเป็นผู้ที่สามารถประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้นได้ด้วยตนเองและจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

      สิทธิการเช่าซื้อที่ยังมีเงื่อนไขหรือมีค่าภาระติดพันอยู่ จะโอนให้ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะไม่ได้ เว้นแต่ผู้โอนจะได้ทำให้เงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันนั้นหมดไปเสียก่อน หรือผู้รับโอนได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ปกครอง และจะต้องได้รับอนุมัติจากศาลแล้ว

13. เมื่อทราบว่าเกษตรกรถึงแก่กรรม ให้ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียแจ้งให้ปฏิรูปที่ดินจังหวัดดำเนินการสอบสวนหาผู้ที่จะมีสิทธิได้รับมรดกสิทธิตามระเบียบโดยเร็ว เพื่อนำเสนอ คปจ. ต่อไป

      ให้ คปจ. เป็นผู้พิจารณาว่าบุคคลใดเป็นผู้จะได้รับมรดกสิทธิตามระเบียบ เมื่อ คปจ. มีมติเป็นประการใด ให้ปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามสิทธิตามผลการพิจารณาของ คปจ.มารับทราบพร้อมทั้งจัดทำสัญญาเช่าหรือเช่าซื้อให้กับผู้รับมรดกตามแบบที่ ส.ป.ก. กำหนดโดยเร็วต่อไป

      ถ้ามีเหตุอันควร คปจ. อาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อให้ผู้รับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อมีหน้าที่ให้สิทธิประโยชน์บางประการแก่ทายาทผู้ที่ตกลงไม่ขอรับสิทธิ หรือเป็นทายาทที่เป็นผู้เยาว์หรือผู้ทุพพลภาพหรือโรคจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบก็ได้ตามความเหมาะสมแก่กรณี

14. ผู้รับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อจะต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของเกษตรกรผู้ถึงแก่กรรม

15. หากปรากฏว่าผู้ได้รับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ คปจ. กำหนดตามข้อ 13.วรรคสามโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีหนังสือเตือนให้ผู้ได้รับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อปฏิบัติตามข้อกำหนดให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด ถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามให้ คปจ. กำหนดมาตรการที่สมควร ทั้งนี้ อาจพิจารณาถึงขั้นให้ผู้นั้นสิ้นสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อได้

      เมื่อ คปจ. ได้สั่งให้ผู้ได้รับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อสิ้นสิทธิในที่ดินและมีคำสั่งให้ผู้นั้นออกจากที่ดินภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้ คปจ. พิจารณาบุคคลอื่นผู้มีสิทธิที่จะได้รับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อเพียงรายเดียวเป็นผู้ได้รับสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อแทนต่อไป ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิทายาทที่เคยไม่ขอรับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อแต่เดิมด้วย

16. ถ้าเกษตรกรผู้ถึงแก่กรรมมีหนี้สินค้างชำระกับ ส.ป.ก.หรือสถาบันการเงินที่ร่วมโครงการกับ ส.ป.ก.หรือสถาบันเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ผู้ได้รับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อจะต้องรับไปซึ่งหนี้สินที่ค้างชำระเหล่านั้นด้วย

      หากบุคคลตามวรรคหนึ่งไม่ยอมรับหนี้สินที่ค้างชำระดังกล่าว หรือไม่ยินยอมรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าหรือเช่าซื้อ ให้ผู้นั้นหมดสิทธิได้รับมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และให้ปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิจารณาบุคคลผู้จะได้รับมรดกสิทธิรายอื่นที่ยินยอมชำระหนี้และยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ เสนอ คปจ. พิจารณาต่อไป โดยให้นำข้อ 15. วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

17. ถ้าไม่มีทายาทตามระเบียบมารับสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ หรือมีแต่ไม่ขอรับ หรือไม่มีคุณสมบัติตามข้อ 1. ให้ คปจ. ดำเนินการจัดที่ดินให้แก่เกษตรกรรายอื่นตามระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป

      กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการเช่าซื้อที่ดิน ให้เจ้าหน้าที่หักเงินเท่ากับจำนวนค่าเช่าที่ดินดังกล่าวที่ ส.ป.ก. กำหนดและหนี้สินที่ค้างชำระกับ ส.ป.ก. หรือสถาบันการเงินที่ร่วมโครงการกับ ส.ป.ก. หรือสถาบันเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินที่แจ้งหนี้ให้ ส.ป.ก. ทราบออกจากเงินที่เกษตรกรผู้ถึงแก่กรรมได้ชำระเป็นค่าเช่าซื้อ และคืนเงินที่เหลือให้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของผู้เช่าซื้อ โดยส่งมอบแก่ผู้จัดการมรดก หรือในกรณีไม่มีผู้จัดการมรดก ก็ให้ส่งมอบแก่ทายาทคนหนึ่งคนใดซึ่งมีสิทธิจะได้รับมรดกเพื่อแบ่งปันให้กับทายาทรายอื่นต่อไป

18. ถ้าผู้ที่ตกลงรับมรดกสิทธิการเช่าซื้อ ขอเลิกสัญญาเช่าซื้อในภายหลัง ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินคืนค่าเช่าซื้อที่เกษตรกรผู้ตายและผู้นั้นได้ชำระไว้ ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินที่ตนตกลงรับมรดกสิทธิการเช่าซื้อ โดยนำวิธีการหักเงินตามความในข้อ 17. วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

      ถ้าผู้ที่ขอยกเลิกสัญญาเช่าซื้อมีภาระผูกพันในเรื่องสิทธิประโยชน์ตามข้อ 13. วรรคสาม ผู้นั้นจะได้รับเงินคืนตามวรรคหนึ่งต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามภาระผูกพันนั้นครบถ้วนแล้ว

      ถ้ามีการขอเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยผู้เช่าซื้อมิได้ปฏิบัติตามภาระผูกพันในเรื่องสิทธิประโยชน์ ให้ คปจ. พิจารณาผู้มีสิทธิที่จะได้รับมรดกสิทธิการเช่าซื้อตามระเบียบคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวเป็นผู้ได้รับสิทธิการเช่าซื้อแทนต่อไป โดยจะต้องรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อทั้งหมดรวมทั้งภาระผูกพันในสิทธิประโยชน์ที่มีอยู่เดิมนั้นด้วย และให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

19. ในกรณีโอนสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ หากมีค่าใช้จ่ายในการรังวัดแบ่งแปลง ให้ผู้โอนเป็นผู้ชำระ ส่วนในกรณีตกทอดทางมรดกสิทธินั้นให้บรรดาทายาทผู้ได้รับมรดกสิทธิเป็นผู้ชำระ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ส.ป.ก. กำหนด

20. ให้ปฏิรูปที่ดินจังหวัดรายงานการโอนสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อหรือการตกทอดมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อให้ ส.ป.ก. ทราบ เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อไป


แหล่งที่มาของข้อมูล : สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ผู้แสดงความคิดเห็น ทีมงาน Jollaw (n-at-no-dot-com)วันที่ตอบ 2011-07-21 19:16:41 IP : 171.98.108.78


ความคิดเห็นที่ 2 (3343624)

ขอบคุณมากค่ะ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น นางสราญรัตน์ เกตุกุญชร (saranrat-dot-ket-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-07-17 22:00:13 IP : 223.206.187.182


ความคิดเห็นที่ 3 (4033083)

กรณีทายาทรับสิทธิ แต่ทายาทจดทะเบียนสมรสแล้ว ต้องให้คู่สมรสเดินทางไปด้วยหรือต้องใช้เอกสารคู่สมรสด้วยหรือไม่ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น วีระพล วันที่ตอบ 2017-01-25 20:27:30 IP : 223.24.97.14


ความคิดเห็นที่ 4 (4049177)

 กรณีที่ สปก.ชื่อยาย  ตาขายให้ทนาย..เมื่อ 10 +ปีก่อน ตาเสียชีวิต  ไป 10 ปี   แล้ว   ปีที่แล้วได้รับหนังสือให้ไปเสียภาษี จึงนำใบไปให้ผู้ซื้อชำระ  1เดือนก่อนยายเสียชีวิตอีก  คนซื้อ มาติดต่อให้แม่ไปแจ้งที่ สปก.จังหวัด  ????คือ  แม่ งง ไม่รุว่าต้องทำอะไร ยังไงบ้าง..ขอคำแนะนำคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น กระต่าย (Jira032-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2017-04-17 21:47:19 IP : 27.55.89.186


ความคิดเห็นที่ 5 (4058095)

 มีบัตรประกันสังคมเกี่ยวกับการโอนที่ดินหรือไม่ ไปโอนกรรมสิทธิ์แต่ทาง สปก บอกว่ามีบัตรประกันสังคมจะไม่ได้รับสิทธิ์ งง ไม่ใช่ที่ดินทำกิน แต่เป็นแปรงที่ปลูกสร้าง 2 งาน สปก บอกว่ากฎหมายเดียวกัน แปลงปลูกการเกษตรพอรับได้นะ แต่แปลงปลูกสร้างไม่ได้ทำการเกษตรบอกกฎหมายเดียวกัน งง มาก ๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น จุฑา (yuyuyi-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2017-06-06 10:54:19 IP : 101.109.242.38


ความคิดเห็นที่ 6 (4067975)

 สามีดิฉันเป็นข้าราชการไม่มีสิทธิถือครองที่ดิน สปก. แม่สามีสามารถโอนให้ลูกสะใภ้ไไหมคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ภัณฑิรา วันที่ตอบ 2017-07-26 01:10:54 IP : 125.27.129.238


ความคิดเห็นที่ 7 (4080268)

 ช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ. พ่อโอนสิทธิ์ สปก ให้ผม เมื่อพ่อเสียชีวิตแล้ว ผมสามารถโอนสิทธิ?คืนให้แม่ได้ไหมครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น โจ (jo_pairoj1970-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2017-09-28 12:56:18 IP : 223.206.233.156


ความคิดเห็นที่ 8 (4090433)

 กรณีย่ามีที่ดิน25ไร่ มีบุตร3คน ย่าได้แบ่งที่ดิน ดังนี้

ปู่5ไร่ ย่า5ไร่ คนที่1:5ไร่ คนที่2:5ไร่ คนที่3:5ไร่ ทั้งหมด25ไร่

ซึ่งบุคคลที่3เสียชีวิตแต่มีบุตร1คนแต่ภรรยาไม่ได้จดทะเบียนกับผู้ตายและบุตรก็ไม่ใช้นามสกุลของผู้ตาย แบบนี้ลุกของผู้ตายมีสิทธ์ที่จะได้รับที่ดิน5ไร่หรือไม่คะ เพราะย่าแบ่งไว้ให้แล้วอายุ20ปีบริบูรณ์สามารถโอนให้บุตรของผู้ตายได้ไหมคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น อุมาพร แก้วกาหลว (Umapornkaewkalong-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2017-11-28 04:12:41 IP : 1.46.99.85


ความคิดเห็นที่ 9 (4095447)

 โอนสิทธิ์สปก.จากบิดาซึ่งยังไม่เสียชีวิต ให้ดิฉันได้ไหมค่ะ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ผู้โอนต้องไปด้วยไหมในวันที่โอน ต้องเซ็นเอกสารอะไรไหมค่ะ เพราะมีปันหาเรื่องส่งเงิน ธกส. บิดาเป็นผู้กู้เเต่ไม่ยอมจ่าย กลัวธกส.จะยึดที่ดินจึงขอโอนสิทธิ์ได้ไหมค่ะ 

ผู้แสดงความคิดเห็น JOY (Apisara-dot-1986-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2017-12-27 20:36:22 IP : 171.6.251.3


ความคิดเห็นที่ 10 (4117545)

กรณีที่พ่อจะโอนที่ดิน สปก ให้ลูก แต่พ่อยังมีชีวิตอยู่  และพ่ออายุมากกลัวมีปัญหาเมื่อท่านเสีย ก็ตกลงกันจะทำเรื่องโอนให้ดิฉันรับผิดชอบ (แต่ดิฉันทำงานโรงงาน มีประกันสังคม) ไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ทางเจ้าหน้าที่บอกโอนไม่ได้ เพราะอะไรค่ะถึงโอนไม่ได้  (ทางเจ้าหน้าให้คำตอบ เพียงว่าไม่สามารถโอนได้ค่ะ เพราะมีประกันสังคม) ดิฉันก็ไม่มีตวามรู้เรื่องนี้อยากสอบถามดูค่ะ สงสัยมาก 

ผู้แสดงความคิดเห็น wanraya (pana2928-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2018-05-24 18:13:32 IP : 182.232.67.136


ความคิดเห็นที่ 11 (4118202)

 พ่อเสียชีวิตแล้วสปกยังเป้นชื่อพ่อแต่ภาระพูกพันธกสโอนมาเรียบร้อยแล้วเราจะสามารถเปลี่ยนแปลงชื่อเป็นเราได้ไหมค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น กัญญาวีร์ ขำตา (Noklek_2528-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2018-05-29 18:48:36 IP : 49.230.239.157


ความคิดเห็นที่ 12 (4129320)

ที่ดิน สปก-01 ผู้มีสิทธิตาย หรือ แก่ไม่สามารถทำกินได้ มีสามี และบุตร ทุกคนถือครองที่สปก. แล้วทั้งหมด แต่มีบุตรบุญธรรมจดทะเบียน จบเกษตร อายุเกิน 20แล้ว ช่วยทำกินมาตลอด  บุตรบุญธรรมจะขอรับสิทธิ ทำกินในที่ดิน ต่อได้ไหมครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ภิชาติ วรงค์ฐิติ วันที่ตอบ 2018-08-02 19:37:40 IP : 118.172.60.18


ความคิดเห็นที่ 13 (4133520)

 มีประกันสังคมไม่สามารถรับโอนที่ดินได้หรอค่ะ

รบกวนผู้รู้ให้คำตอบด้วยจ้า

ผู้แสดงความคิดเห็น ภาวินี วันที่ตอบ 2018-08-31 12:03:45 IP : 223.24.94.112


ความคิดเห็นที่ 14 (4138005)

 กรณีนี้ ตัวเราเองเป็นหลานซึ้งน้าเป็นน้องของแม่  จะโอนที่ดิน สปก ให้  แต่ติดอยู่ที่มีคู่สมรส แต่ไม่ได้อยู่ด้วยกันนาน 3ปี  จะถามว่า คู่สมรสไม่มาเซ็น ได้หรือเปล่าค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น รักมาก เจ็บมาก วันที่ตอบ 2018-09-28 08:43:21 IP : 49.230.213.237


ความคิดเห็นที่ 15 (4151238)

ผู้ถือครองที่ดิน สปก. ย้ายไปอาศัยอยู่ต่างประเทศเกือบ 20 ปีแล้ว  แต่เราทำกินบนที่ดินของเขามาตลอด  และเขาก็ไม่มีทายาท  จะมีวิธีการโอนที่ดินให้เราเป็นผู้ถือครองที่ดินดังกล่าว  ได้อย่างไร

ผู้แสดงความคิดเห็น นายเมือง ไชยฤทธิ์ วันที่ตอบ 2018-12-19 12:51:55 IP : 182.52.91.204


ความคิดเห็นที่ 16 (4155579)

 เป็น​พนักงาน​บริษัท​ รายวัน​ สามารถ​รับสิทธิ​ที่ดินทำกินต่อจากแม่ได้หรือไม่​คะ​

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูก​ วันที่ตอบ 2019-01-19 20:00:39 IP : 182.232.134.193


ความคิดเห็นที่ 17 (4156776)

 แฟนผมเป็นเกษรตกรจดทะเบียนสมรสกันแต่ผมเป็นพนักงานราชการสามารถโอนที่ดินสปก.ได้ไหม

ผู้แสดงความคิดเห็น กิจ (golfworakit-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2019-01-28 12:28:30 IP : 223.24.170.161


ความคิดเห็นที่ 18 (4186249)

กรณีแม่ผู้ถือสิทธิ เสียชีวิต แม่มีลูก4คน แต่พี่สาวบอกจะเอาเป็นชื่อตนผมผู้เดียวแต่ผมห้ามไว้ อยากให้เป็นชื่อแม่เหมือนเดิม แต่ทุกคนมีสิทธิ์ทำกินอยู่ จะได้ไหมครับ ที่ดินเป็นท่าบ้านครึ่งไร่ เพิ่มได้ใบสปก แต่แม่ยังไม่ได้ไปรับจากสปก ท่านได้เสียไปก่อน จึงรอเพียงทางสปก ส่งผู้นำหมู่บ้านเอามาแจกจ่าย.  

คำถาม หากผมจะเก็บชื่อแม่ไว้เป็นเจ้าของตลอดไป เพื่อพี่น้องทุกคนได้ใช้ประโยชน์จะได้ไหมครับ. และต้องทำอย่างไร 

ผู้แสดงความคิดเห็น เสฏฐสิทธิ์ (sattasitk-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2019-10-18 13:35:53 IP : 115.87.115.34


ความคิดเห็นที่ 19 (4191938)

 

 ขอถามค่ะ

1. ว่าตัวเราทำงานมีประกันสังคม สามารถโอน ที่สปก.ได้ไหมค่ะ

2. สามีมีที่ดินที่เป็นโฉนดอยู่แล้วประมาณ 50ไร่ เรายังสามารถถือคลอง สปก

ได้อีกไหมค่ะ

3.ถ้าเราโอนไม่ได้ เราสามารถ ให้พ่อโอนให้หลาน ที่ยังอายุ 15และยังศึกษา อยู่ได้ไหมค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น อุไร วันที่ตอบ 2020-02-15 04:13:49 IP : 180.180.133.31


ความคิดเห็นที่ 20 (4196344)

 ฉันและสามี มีบุตรหนึ่งคนเรียนจบ และได้รับราชการ เวลาต่อมาสามีเสียชีวิต มี ที่ สปก  ฉันไม่ขอรับสิทธิ  ลูกคนเดียวจะได้รับสิทธิ์ไหม และพี่น้องของสามีก็มีที่ สปก กันแล้ว ขอคำตอบด้วยนะค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ริษรา วันที่ตอบ 2020-04-22 20:49:27 IP : 125.27.163.151


ความคิดเห็นที่ 21 (4197887)

 ถามผู้รู้ค่ะ:

ฉันและน้องได้รับสิทธิ์ในที่สปก.แทนแม่เพราะแม่เสียชีวิตแล้วและคุณตาก็ได้แบ่งเป็นชื่อของฉันและน้องแล้ว

อยากทราบว่านานมั้ยคะกว่าจะได้ใบสปก.มาต้องไปสอบถามที่ไหนคะหรือว่ารออย่างเดียวเพราะตอนนี้ผ่านไปปีกว่าแล้วค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น NA (boy9731k-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2020-05-18 19:36:35 IP : 223.24.165.238


ความคิดเห็นที่ 22 (4201722)

หลายคำถามไม่มีซึ่งคำตอบ

ผู้แสดงความคิดเห็น เป็นรัฐบาลทำทันที สปก 4.0 ว่างั้น วันที่ตอบ 2020-07-21 23:17:33 IP : 124.120.200.237


ความคิดเห็นที่ 23 (4201863)

 มีประกันสังคมมาตร 39 สามารถโอนที่ดินทำกินจากบิดาได้ไหมค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น อร วันที่ตอบ 2020-07-23 14:40:02 IP : 49.230.128.61


ความคิดเห็นที่ 24 (4412976)

 ทำประกันสังคมมาตรา 40 พ่อจะโอนที่ดิน สปก ให้ได้ไหม 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น จุ๋ม (jum-dot-kasemsri-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2023-01-10 18:25:15 IP : 223.205.246.162



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล