ReadyPlanet.com


ปรึกษาคดีก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต พรบ อาคาร 2522


 ท่านทนาย และทีมงานค่ะ ดิฉันอยากจะปรึกษาท่านเกี่ยวกับคดีก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พรบ. อาคาร 2522 คะ คือดิฉันมีบ้านอยู่ในชุมชนริมทางรถไฟสายท่าเรือค่ะ เป็นบ้านไม้สองชั้นที่กำลังซ่อมแซม ในขณะซ่อมแซม มีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเข้ามาและบอกว่าดิฉันทำการซ่อมแซมโดยไม่ได้รับอนุญาต ต่อมามีหมายมาติดหน้าบ้าน เป็นค.3 (ระงับการก่อสร้าง), ค.4 (ออกจากพื้นที่), ค.7 (รื้่อถอนออกทั้งหมด) ดิฉันเข้าไปติดต่อทางเขตแล้วแต่ไม่ได้รับการตอบกลับใดๆ ช่วงนั้นดิฉันเองก็ไม่มีความรู้จึงไม่ได้ไปดำเนินเรือ่งต่อที่ศาลปกครองเพราะคิดว่าก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ต่อมาได้มีพนักงานสอบสวนเรียกพ่อดิฉันเข้าไปสอบสวน ดิฉันให้การปฏิเสธ เพราะทางเขตได้กล่าวหาว่าดิฉันทำการก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิช เป็นอาคารโครงเหล็กสามชั้น ผนังก่ออิฐ ฉาบปูน พ่อดิฉันให้การปฏิเสธเพราะความจริงไม่ได้ก่อสร้างอาคารโครงเหล็ก 3 ชั้น เป็นเพียงแค่การซ่อมบ้านไม้เท่านั้น หลังจากที่ตำรวจสอบสวน พ่อดิฉันถูกส่งตัวไปที่พนักงานอัยการ และถูกฟ้องศาลโดยมีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ และพ่อดิฉันเป็นจำเลย ในศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีการสอบพยานใดๆ พ่อดิฉันรับสารภาพเนื่องจากได้ปรึกษากับทนายแล้วทนายแนะนำว่าให้ยอมรับไปเพราะมีเรื่องกับเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็แพ้อยู่ดี แล้วหากพ่อดิฉันยอมรับชาวบ้านละแวกนั้นจะได้ไม่มีใครเดือดร้อน (เพราะไม่มีใครในชุมชนขออนุญาตเขตเรื่องการก่อสร้างหรือซ่อมแซมอยู่เเล้ว) พ่อดิฉันจึงถามว่าหากกรณีนี้จะถูกปรับเท่าไร ทางทนายแนะว่า ประมาณ 20,000 -30,000 บาท พ่อดิฉันจึงยอมรับสารภาพซึ่งเป็นวันที่สืบพยานฝั่งโจทก์ อย่างไรก็ดีพอถึงวันที่พิพากษาพ่อดิฉันถูกปรับประมาณ 2 แสนกว่าบาทแต่ได้ลดให้กึ่งหนึ่งเหลือประมาณ 1.5 แสนบาท พ่อดิฉันเปลี่ยนทนายทันทีและให้ทนายคนใหม่ทำเรื่องอุทธรณ์ โดยทนายอุทธรณ์แค่เรื่องขอลดค่าปรับ แต่ตามเจตนาจริงๆ ของดิฉันคือ อยากให้ทนายช่วยเขียนเรื่องลักษณะของบ้านด้วย เนื่องจากไม่ตรงกับสำนวนฟ้องจึงเป็นเหตุให้ปฏิเสธมาตลอด พอวันนัดฟังคำพิพากษาอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น เนื่องจากท่านว่า ไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ว่ามีการรื้อถอนใดๆ อีกทั้งตัวอาคารยังเป็นโครงเหล็กที่ไม่เหมาะสม3 ชั้น ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อผู้พักอาศัย โดยที่จำเลยไม่เห็นความสำคัญใดๆ ต่อผู้อื่น

 

ดิฉันเองอยากจะแถลงต่อท่านตอนนั้นด้วยซ้ำว่า ดิฉันไม่ได้มีอาคารโครงเหล็กใดๆ ตามที่สำนวนฟ้อง แต่คงไม่มีประโยชน์อะไร

 

ดิฉันได้เสียค่าปรับไปหมดแล้ว (จำวน 150,000 บาท) ในวันพิพากษาชั้นต้น เมื่อถึงวันพิพากษาอุทธรณ์จึงไม่ได้เสียค่าปรับเพิ่มอีก

 

จึงอยากเรียนปรึกษาท่านเรื่อง

- หากดิฉันจะฎีกาต่อท่านมีความคิดเห็นว่าอย่างไร

- ในกรณีที่เรื่องดำเนินมาถึงตอนนี้ ถ้าดิฉันอยากให้พิสูจน์ข้อเท็จจริงจะทำได้หรือไม่ เนื่องจากสภาพบ้านก็ยังไม่ได้ทำอะไรเลยตั้งแต่ตอนที่ถูกฟ้องจนถึงปัจจุบัน

- ในกรณีที่ทนายแนะนำให้ยอมรับ โดยเสียค่าปรับแค่ 2-3 หมื่นบาท แต่ความจริงเสียค่าปรับ1.5 แสน ดิฉันสามารถฟ้องหรือเอาผิดทนายได้หรือไม่

- ดิฉันสามารถฟ้องเจ้าหน้าที่ท้องถื่น ตลอดถึงพนักงานอัยการได้หรือไม่เนื่องจาก เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นแสดงแบบเเปลนที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง และพนักงานอัยการก็ไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนส่งเรื่องฟ้องศาล

 

ดิฉันยังยืนยันว่าดิฉันไม่ได้มีการก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชยกรรม โครงเหล็ก 3 ชั้น ผนังก่ออิฐ ฉาบปูนแน่นอน มีเพียงการซ่อมแซมบ้านไม้สองชั้น ซึ่ง ณ วันนี้ก็ยังมีอยู่ สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลาที่รับสารภาพก็เพียงเพราะอยากให้เรื่องจบด้วยค่าปรับ 2-3 หมื่นบาท จึงเรียนปรึกษาท่านเพียงเท่านี้ ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ธนาพร สุขอุดม (tik_aeng-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2013-09-18 23:39:30 IP : 58.11.0.28


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3393576)

 หากดิฉันจะฎีกาต่อท่านมีความคิดเห็นว่าอย่างไร

ตอบ  ไม่แนะนำครับเพราะในศาลชั้นต้นคุณได้รับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาไปแล้ว

- ในกรณีที่เรื่องดำเนินมาถึงตอนนี้ ถ้าดิฉันอยากให้พิสูจน์ข้อเท็จจริงจะทำได้หรือไม่ เนื่องจากสภาพบ้านก็ยังไม่ได้ทำอะไรเลยตั้งแต่ตอนที่ถูกฟ้องจนถึงปัจจุบัน
 ตอบ   การพิสูจน์ต้องกระทำตั้งแต่ศาลชั้นต้นครับ
- ในกรณีที่ทนายแนะนำให้ยอมรับ โดยเสียค่าปรับแค่ 2-3 หมื่นบาท แต่ความจริงเสียค่าปรับ1.5 แสน ดิฉันสามารถฟ้องหรือเอาผิดทนายได้หรือไม่
 ตอบ   เป็นการประมาณการของทนายความครับ เพราะการปรับที่คุณต้องเสียเป็นค่าปรับตามกฎหมาย
- ดิฉันสามารถฟ้องเจ้าหน้าที่ท้องถื่น ตลอดถึงพนักงานอัยการได้หรือไม่เนื่องจาก เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นแสดงแบบเเปลนที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง และพนักงานอัยการก็ไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนส่งเรื่องฟ้องศาล
ตอบ  หากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ก็ฟ้องได้ครับ ส่วนพนักงานอัยการทำหน้าที่เป็นทนายความของแผ่นดิน  การสั่งคดีตามพยานหลักฐานที่ปรากฎต่อพนักงานอัยการ เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในการใช้ดุลพินิจดังกล่าว  ไม่มีความผิดหลอกครับ 
 

     

ผู้แสดงความคิดเห็น ทีมกฎหมาย jollaw วันที่ตอบ 2013-09-19 11:21:03 IP : 171.99.130.153



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล