ReadyPlanet.com


ทรัพย์สินของสามีภรรยาที่ไม่ได้ทะเบียนสมรส


 

นาย A อยู่กินกับ น.ส. B อย่างสามีภรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีลูกด้วยกัน 4 คน ต่อมา นาย A เลิกกับ น.ส. B แล้วนายAไปคบกับ ด.ญ. C อย่างสามีภรรยา โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส พอ ด.ญ. C มีลูกคนแรกไปทำบัตรประชาชนที่อำเภอทำผิดเขียนคำนำหน้าให้เป็น นาง ทั้งที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส พอนาง C มีลูกได้ 3 คน นาย A ก็ไปจดทะเบียนสมรสกับ น.ส. B โดย นาง C ไม่รู้
                ช่วงเวลาที่ นาย A อยู่กับ นาง C (ประมาณปี 2515 ) ทั้งสองช่วยกันทำมาหากิน จนมีทรัพย์สิน บ้านและที่ดิน
และหนี้สิน บ้านและที่ดิน เป็นชื่อของ นาง C แต่เวลาไปทำเรื่องกับกรมที่ดิน เจ้าหน้าที่บอกว่าต้องให้นาย A เซ็นรับรองด้วยทุกครั้ง แม้แต่ตอนทำเรื่องกู้เงินธนาคาร ก็ต้องให้นาย A เซ็นยินยอมด้วย (อาจเนื่องมาจาก คำว่า นาง ของ นาง C)
                ประมาณปี 2546 จนถึงปัจจุบัน นาย A ป่วยเป็นอัมพฤต ทรัพย์สิน และหนี้สิน ซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่นาย Aจะป่วย แต่หลังจากที่ป่วย นาง C และลูก ๆ ของนาง C เป็นคนหาเงินมาใช้หนี้ และดูแล จ่ายค่ารักษาพยาบาล นาย A ซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก
                คำถาม
1     นาง C ไม่ได้จดทะเบียนสมรส กับนาย A ทำไมต้องให้นาย A มาเซ็นยินยอมด้วย , พอเซ็นยินยอมแล้วนายA มีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นหรือเปล่า (เจ้าหน้าที่ให้เซ็นยินยอมในเอกสารแนบมาด้วย แต่ชื่อในโฉนดเป็นชื่อของ นาง C  คนเดียว)
2        ที่ดินที่ไปจำนองกับทางธนาคาร ต้องแบ่งทรัพย์สิน และหนี้สินที่เกิดขึ้นของแปลงนี้เท่ากันหรือเปล่า
(เพราะเอกสารของธนาคารเหมือนเป็นการกู้ร่วม แต่ที่ดินที่จำนอง เป็นชื่อของนาง C)
3     ถ้านาย A  เกิดเสียชีวิตขึ้นมา  นาง B มีสิทธิ์ เรียกร้องขอแบ่งทรัพย์สิน (ที่ดินและบ้าน) ที่เป็นชื่อของ นาง C หรือเปล่าค่ะ
 
__ ปัจจุบัน นาง C ไปแจ้งที่อำเภอ ให้แก้คำนำหน้าให้ถูกต้อง เป็น นางสาว C แล้ว เมื่อปี 2551
ตั้งแต่เกิด จนถึงปัจจุบัน นางสาว C ไม่เคยจดทะเบียนสมรสเลย แต่เป็นเพราะทางอำเภอ เขียนคำนำหน้าให้ผิด

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบ



ผู้ตั้งกระทู้ ญา :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-28 12:30:25 IP : 124.120.241.34


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1462152)
 
ผู้ถามคงมีความรู้ทางกฎหมายอยู่บ้าง..
            ประเด็นตามที่สอบถามมีปัญหาตุ๊กตาอยู่สามประเด็น  ผมขอวินิจฉัยกรณีตามอุธาหรณ์ ดังนี้
จากปัญหาข้อเท็จจริงที่คุณบอกว่านายเอเลิกกับนางบี และมาอยู่กินฉันสามีภริยากับด.ญ. ( นางซี ) และแอบไปจดทะเบียนสมรสกับนางบี โดยนางซีไม่รู้ ตามกฎหมายครอบครัวเก่าแม้ไม่มีการจดทะเบียนสมรส ก็ถือว่าเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ( ฉนั้น การจดสมรสครั้งหลังเป็นการจดทะเบียนสมรสซ้อน ผลเป็นโมฆะ )  หากข้อเท็จจริงทั้งหมดเกิดก่อน ป.พ.พ.แพ่งและพาณิชย์มีการชำระใหม่ในปีพ.ศ. 2519 ผมจะวินิจฉัยดังนี้
         ข้อ 1 นายเออยู่กินกับด.ญ. ( นาง ) ซี ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับปี พ.ศ. ๒๕๑๙  คืออยู่กินกันในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ นางซีจึงเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเอ   ดังนั้นเมื่อนางซีไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินเจ้าหน้าที่จึงต้องให้คู่สมรสมาให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมด้วย  เพราะสามีภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง  หากทำไปโดยลำพังคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้
        ข้อ 2. หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นรวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส ตามป.พ.พ. 1490    เมื่อสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้จากสินสมรสและสินส่วนตัว ( สินบริคณฑ์ )  ของทั้งสองฝ่าย ตามป.พ.พ.มาตรา 1489 
        ข้อ 3. เมื่อนายเอเสียชีวิต ทรัพย์มรดกของนายเอต้องตกทอดแก่ทายาทของนายเอ ตามป.พ.พ.มาตรา1599,1629   นางบีไม่มีสิทธิรับมรดกของนายเอ ในฐานะคู่สมรสของนายเอแต่อย่างใด
การวินิจฉัยอาจมีความเห็นแตกต่างจากท่านผู้รู้ท่านอื่น  หากคุณมีคำวินิจฉัยที่เป็นฎีกา หรือคำเฉลยที่สมบูรณ์ อาจแชร์ความรู้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาต่อไป
ผู้แสดงความคิดเห็น ทีมงาน วันที่ตอบ 2009-09-29 09:50:23 IP : 58.136.48.102


ความคิดเห็นที่ 2 (1462210)
          ถ้ากฎหมายถือว่านาง บี เป็นภรรยาโดยถูกต้องตามกฎหมายของ นาย เอ เพราะจดทะเบียนสมรส และ นาง ซี ถือว่าเป็นแค่หุ้นส่วนกับ นาย เอ
          ถ้านาง ซี จะโอนที่ดินที่หามาร่วมกันกับนายเอ แต่ชื่อในโฉนดเป็นชื่อของนาง ซี เพียงคนเดียว ให้ลูก ๆ ของนางซี   แล้วต่อมา นาย เอ เกิดเสียชีวิต  นาง บี จะมีสิทธิ์มาเรียกร้องขอแบ่งที่ดินแปลงนี้จากลูก ๆ ของนาง ซี หรือเปล่าค่ะ (เรียกร้องในฐานะสามีของนาง บี เป็นหุ้นส่วน)

**ยังไม่เข้าใจเรื่องการจดทะเบียนสมรสซ้อนของนาง บี ค่ะ เพราะ นาย เอ และ นาง ซี ไม่เคยจดทะเบียนสมรสกันเลย ทำไมเลยเป็นการสมรสซ้อน

ผู้แสดงความคิดเห็น ญา วันที่ตอบ 2009-09-29 15:21:14 IP : 124.122.92.149


ความคิดเห็นที่ 3 (1462242)

ความเห็นของผมคิดว่าคำตอบน่าจะเป็นดังนี้

ข้อ 1  เจ้าพนักงานที่ดิน อาจเห็นคำนำหน้านามว่า"นาง"จึงคิดว่านางซีมีสามี  จึงให้นางซีนำคู่สมรสคือนายเอ มาทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินตามกฎหมายด้วย แต่ลงชื่อให้ความยินยอมของนายเอนั้นไม่ได้เป็นการลงชื่อในฐานะสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของนางซี คงไม่มีผลในทางกฎหมายแต่อย่างใด  แต่นายเออาจได้กรรมสิทธิ์โดยเป็นหุ้นส่วนของนางซี  ( กรรมสิทธิ์ร่วม )   

ข้อ 2. กรณีที่ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม  ( เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากเจ้าหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ตามป.พ.พ.291 )  

 ข้อ 3.  หากนายเอเสียชีวิต ทรัพย์มรดกของนายเอต้องตกทอดแก่ทายาทของนายเอ เมื่อนางบีเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเอ จึงถือเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนายเอ  หากนายเอมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์บ้านและที่ดินกับนางซี  เฉพาะกรรมสิทธิ์ในส่วนของนายเอก็ต้องแบ่งให้กับทายาทของนายเอต่อไป
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น ท.ธีรภัทร์ วันที่ตอบ 2009-09-29 17:01:41 IP : 58.136.48.102



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล