ReadyPlanet.com


เรื่องผู้ต้องหาที่โดนซัดทอด


เรื่องผู้ต้องหาที่โดนซัดทอด

คือ ผมเป็นผู้เสียหาย โดนลอบทำร้าย ผู้ต้องมีสี่คน โดยผู้ต้องหาขับรถจักรยานยนต์ สองคัน คันละสองคน   มาเฉี่ยวฟันกระผม สองแผล ฟันคนละที แต่ผมจำหน้าได้คนเดียว ตำรวจจับได้แล้ว และรับสารภาพว่าเป็นคนทำร้าย  และได้ซัดทอดอีกคนที่ฟัน ตำรวจให้กระผมไปชีตัว แต่ผมจำหน้าไม่ได้ เลยชีตัวไม่ได้ อยากทราบว่า พอมีทางจะเอาผิดคนที่โดนซัดทอดได้มั๊ยครับ แล้วในกรณีนี้ ตำรวจสามารถจับได้เลยไหมครับ  จะขอหมายจับได้มั๊ยครับ...



ผู้ตั้งกระทู้ สุรพงษ์ (yamemo9-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2013-07-16 12:12:25 IP : 148.177.241.8


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3384697)

การขอ ออกหมายจับนั้น มีบํญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66

มาตรา 66 เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้

(1)เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญา ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ

(2)เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี  หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน  หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น

      ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง  หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี

ดังนั้นจะออกหมายจับได้หรือไม่ต้องดูว่า  เจ้าพนักงานตำรวจตั้งข้อหา แก่ผู้ต้องหาอย่างไร  หากเป็นการทำร้ายร่างกาย ธรรมดา คือไม่ได้รับอันตรายสาหัส   ก๋จะมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสองปี  ก็จะออกหมายจับทันทีไม่ได้  ต้องออกหมายเรียกมาพบก่อน ซึ่งหากไม่มาก็เป็นเหตุให้ออกหมายจับได้  

การจะจับบุคคลใด นั้น กฎหมายบัญัติไว้ว่า   พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลไม่ได้เว้นแต่  เมื่อบุคคนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า     หรือ เมือพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมีเครื่องมือ  อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด  หรือ เมื่อมีเหตมี่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตาม มาตรา 66(2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้ หรือเป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่จะหลบหนี้ในระหว่างถูกปล่อยตัว***คราว 

ซึ่งในกรณี ของคุณตามข้อเท็จจริง ไม่ใช่ความผิดที่เกิดซึ่งหน้าเจ้าหนักงานตำรวจ ก็ไม่สามารถจับโดยไม่มีหมายจับได้ และหากจะอ้างเหตุตาม มาตรา 66(2) ได้หรือไม่ ก็ต้องดูพยานหลักฐานตามสมควร ค่ะ และเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจ

และพยานซัดทอดนั้นในกระบวนพิจารณา ของศาลแล้ว ถือว่า มีน้ำหนักน้อยมาก  กฎหมายกำหนดให้ศาลต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นเสมอจึงจะนำมารับฟังเพื่อลงโทษจำเลยได้ค่ะ

และในกรณีของคุณ  คุณอาจจำหน้าคนร้ายไม่ไลคุณสามารถจำส่วนประกอบหรือองค์ประกอบอย่างอื่น เช่น ลักษณะของรถจักรยานยนต์ ได้หรือไม่  เพราะถ้าหากจำได้ก็นำมารับฟังประกอบกันได้ค่ะ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทีมงาน jollaw วันที่ตอบ 2013-07-18 14:37:13 IP : 110.169.224.220



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล