ReadyPlanet.com


ผมมีปัญหาเรื่องการทำงานราชการ


 ผมจะสอบบรรจุรัฐวิสาหกิจที่นึง ผมเคยถูกจับคดีรถแข่งในปี48แล้วตัดสินถึงที่สุดในปี49ให้กักขังเป็นจำนวน45วันผมขอถ้มเป็นข้อๆนะคับ

1.ถ้าผมสอบติดแล้ว ผมต้องโดยสอบประวัติผมเคยมีคดีแบบนี้ผมจะได้รับการบรรจุหรือปล่าวคับ

2.ถ้ากรณีแบบนี้เห็นคนที่รู้จักเค้าบอกว่าต้องไปล้างประวัติที่สำนักงานตำรวจ จริงหรือปล่าวคับ

3.แล้วถ้าล้างประวัติได้จิงผมต้องใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่คับ

ผมขอขอบคุณล่วงหน้าเลยนะคับ



ผู้ตั้งกระทู้ ธวัชชัย (mhoo--7-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2013-06-19 20:11:37 IP : 125.24.132.11


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3381821)
พระราชบัญญัติ คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. ๒๕๑๘
 
 
มาตรา ๙ พนักงานของรัฐวิสาหกิจ นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้สำหรับรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ แล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
(๓) สามารถทำงานให้แก่รัฐวิสาหกิจนั้นได้เต็มเวลา
(๔) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๕) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษหรือพ้นระยะเวลาการรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษ แล้วแต่กรณี เกินห้าปี
ดังนั้น การที่คุณต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดและศาลพิพากษาลงโทษกักขัง ดังนั้นจึงยังไม่ถือว่าขาดคุณสมบัติในการเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจค่ะ
 
สำหรับประเด็นเรื่องการล้างประวัติอาชญากรรมที่สำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้น  ไม่อาจกระทำได้ค่ะ  แต่หถ้าหากว่ามีคนมาบอกว่าสามรถทำได้ ก็อย่าเพิ่งหลงเชื่อค่ะ  ควรสอบถามไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากรก่อนค่ะ 
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น ทีมงาน jollaw วันที่ตอบ 2013-06-22 23:58:40 IP : 171.99.130.153


ความคิดเห็นที่ 2 (3381822)

 

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
รายงานผลการพิจารณาที่    ๖๕๒   /๒๕๕๕
เรื่อง    สิทธิในกระบวนการยุติธรรม กรณีขอให้ลบประวัติอาชญากรและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ
 
ผู้ร้อง                       ปิดชื่อ
ผู้ถูกร้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ    
 
๑. ความเป็นมา
 
                                ผู้ร้องได้มีหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ ตามคำร้องเลขที่ ๓๗๙/๒๕๕๒ ว่า เมื่อปี ๒๕๔๐ ผู้ร้องได้ทำเรื่องขอผ่อนผันการเข้ารับตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการต่อสัสดีอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามแล้ว แต่ด้วยความพลั้งเผลอผู้ร้องไม่ทราบว่าจะต้องไปรายงานตัว ณ ที่ทำการคัดเลือกทหาร ทำให้เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๐ พนักงานอัยการได้ฟ้องผู้ร้องต่อศาลจังหวัดมหาสารคาม ในข้อหาไม่รับหมายเรียกเข้าเป็นทหาร โดยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๔๔ มีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งศาลจังหวัดมหาสารคามพิจารณาลงโทษปรับผู้ร้องเป็นเงิน ๑๕๐ บาท ตามคดีหมายเลขดำที่ ๓๖๙๒/๒๕๔๐ คดีหมายเลขแดงที่๓๓๔๔/๒๕๔๐
 
ซึ่งผลจากการที่ผู้ร้องมีประวัติต้องหาคดีอาญาและประวัติการถูกลงโทษดังกล่าว ทำให้ผู้ร้องไม่ได้รับการพิจารณาให้เข้าทำงานในบริษัทต่าง ๆ  ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องต่อกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติขอให้ลบทะเบียนประวัติอาชญากรและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ร้อง ซึ่งกองทะเบียนประวัติอาชญากรแจ้งว่า กรณีของผู้ร้องไม่สามารถดำเนินการให้ได้ เนื่องจากประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะ ๓๒ บทที่ ๔ ข้อ ๑.๓ กำหนดว่า แผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ บัญชีประวัติและบัตรดัชนีที่เกี่ยวข้องของบุคคลให้อยู่ในข่ายทำลายได้ ดังต่อไปนี้ 
 
๑) ผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย 
 
๒) พนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง 
๓) ศาลสั่งยกฟ้องหรือไม่ประทับฟ้อง 
 
๔) ศาลมีคำสั่งพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง 
 
๕) พนักงานอัยการถอนฟ้องในชั้นศาล
 
๖) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำความผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้น 
 
๗) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ 
 
๘) เมื่อมีคำพิพากษาของศาลรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด โดยในการลงรายการในทะเบียนประวัติอาชญากรนั้น
 
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้ลงโทษแล้ว จะมีการบันทึกผลของคำพิพากษาดังกล่าวไว้ แต่ในกรณีที่มีกฎหมายว่าด้วยการล้างมลทิน ซึ่งมีผลให้ถือว่าผู้ต้องโทษที่อยู่ในเกณฑ์ตามกฎหมายดังกล่าวมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ จะไม่มีการบันทึกการล้างมลทินโทษไว้ในทะเบียนประวัติอาชญากรด้วยประเด็นที่ผู้ร้องประสงค์ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตรวจสอบ คือ ขอให้มีการลบทะเบียนประวัติอาชญากรของผู้ร้อง
 
๒. การพิจารณาคำร้องเรียน
 
                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดำเนินการตรวจสอบ ต่อมาได้มีคำสั่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ ๕/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๔ มอบหมายให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมพิจารณาดำเนินการต่อไป 
ประเด็นการตรวจสอบ
 
ผู้ร้องอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สามารถลบทะเบียน ประวัติอาชญากรและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือตามประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๔ บทที่ ๔ หรือไม่ อย่างไร
 
๓. การดำเนินการตรวจสอบ
 
                                คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ได้ดำเนินการพิจารณาตรวจสอบ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗  พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้รับฟังข้อเท็จจริงทั้งเอกสารและด้วยวาจาจากผู้ร้อง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้
 
๓.๑ กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีหนังสือ ที่ ตช ๐๐๓๒.๓๔/๒๔ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สรุปได้ดังนี้
 
 ๑) ข้อมูลประวัติการกระทำผิดหรือประวัติอาชญากรรม เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ กองทะเบียนประวัติอาชญากรจัดให้มีระบบการจัดเก็บข้อมูลประวัติการกระทำผิดโดยจัดเก็บเพียงเท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็นเพื่อการดำเนินงานของหน่วยงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และยกเลิกการจัดเก็บเมื่อหมดความจำเป็น ตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
 
กองทะเบียนประวัติอาชญากรได้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ เช่น เมื่อได้รับการรายงานผลคดีถึงที่สุดไม่ว่าจะเป็นผลคดีถึงที่สุดในชั้นพนักงานสอบสวน ชั้นพนักงานอัยการ หรือชั้นศาล กองทะเบียนประวัติอาชญากรจะดำเนินการรวบรวมผลคดีเพิ่มเติมไว้กับรายการประวัตินั้น ๆ หากผลการดำเนินคดีถึงที่สุดรายใดอยู่ในเงื่อนไขการนำข้อมูลประวัติออกจากสารบบ กองทะเบียนประวัติอาชญากรก็จะดำเนินการนำข้อมูลประวัติออกจากสารบบตามระเบียบฯ
 
๒) กองทะเบียนประวัติอาชญากร มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับงานทะเบียนประวัติอาชญากร ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บสารบบลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหา ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบประวัติการกระทำความผิดของผู้ต้องหาให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บประวัติการกระทำผิดของผู้ต้องหานั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการสืบสวน การสอบสวน การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม อันเป็นการสนับสนุนเบื้องต้นให้กับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมสำหรับการวินิจฉัยคดี การฟ้องเพิ่มโทษ ตลอดจนสนับสนุนข้อมูลให้กับหน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น ในกรณีที่มี กฎ ระเบียบของทางราชการกำหนดคุณสมบัติให้ตรวจสอบประวัติการกระทำผิด
 
๓) ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทิน พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติว่า ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ หมายความว่า ผู้ถูกลงโทษไม่เคยถูกลงโทษเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า ให้การกระทำความผิดที่เป็นเหตุให้ถูกลงโทษถูกลบล้างไปด้วย ตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขดำที่ ๑๔๐๐/๒๕๕๒ คดีหมายเลขแดงที่ ๖๔๒/๒๕๕๔
 
๔) การจัดเก็บประวัติอาชญากรกรณีของผู้ได้รับการล้างมลทินโทษนั้น กองทะเบียนประวัติอาชญากรมิได้ลบประวัติการกระทำผิดออกจากสารบบ แต่ได้ดำเนินการจัดเก็บให้ถูกต้องอยู่เสมอ โดยเมื่อได้รับแจ้งผลการสิ้นสุดของการลงโทษตามคำพิพากษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็จะบันทึกข้อมูลดังกล่าวเพิ่มเติมไว้ในประวัติอาชญากรรมเพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง
 
๕) การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของผู้ที่มีประวัติอาชญากรนั้น กองทะเบียนประวัติอาชญากรจะเปิดเผยข้อมูลประวัติอาชญากรได้นั้น เป็นไปตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งหากการเปิดเผยข้อมูลไม่เป็นไปตามข้อยกเว้นของ มาตรา ๒๔ แล้ว การเปิดเผยจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเป็นหนังสือเสียก่อน กองทะเบียนประวัติอาชญากรจึงจะเปิดเผยข้อมูลต่อผู้มาขอข้อมูลประวัติอาชญากร
 
๓.๒ คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ได้มีหนังสือเชิญผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงด้วยวาจาและส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕ สรุปดังนี้
 
           เมื่อมีการจับกุมผู้กระทำความผิด พนักงานสอบสวนจะดำเนินการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ต้องหาตามฐานความผิดที่กฎหมายกำหนดไว้ จากนั้นจะจัดส่งข้อมูลมายังกองทะเบียนประวัติอาชญากรเพื่อตรวจสอบประวัติและโทษที่เคยได้รับ เพื่อใช้ในการฟ้องเพิ่มโทษในกรณีที่ผู้ต้องหารายนั้นกระทำความผิดซ้ำหรือกระทำความผิดหลายครั้งและเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของศาล โดยในการจัดเก็บข้อมูลของกองทะเบียนประวัติอาชญากรจะจัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการสแกนภาพ ลายพิมพ์นิ้วมือ และการบันทึกข้อมูล เช่น ชื่อ สกุล เลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก ชื่อบิดาและมารดา เป็นต้น
 
โดยตั้งแต่เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ส่งมายังกองทะเบียนประวัติอาชญากรจะมีบันทึกข้อมูลเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก ซึ่งกรณีที่สถานีตำรวจที่ส่งข้อมูลไม่มีการบันทึกข้อมูลเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก กองทะเบียนประวัติอาชญากรจะส่งข้อมูลกลับไปให้บันทึกข้อมูลให้ครบถ้วนชัดเจนเพื่อความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล โดยในทางปฏิบัติยังมีปัญหาในเรื่องการสืบค้นข้อมูลของผู้ที่บันทึกข้อมูลก่อนปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เนื่องจากไม่มีการบันทึกข้อมูลเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก ซึ่งอาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการสืบค้นข้อมูล ส่วนกรณีบุคคลต่างด้าว กองทะเบียนประวัติอาชญากรจะมีข้อมูลเฉพาะตามที่ได้รับแจ้งเท่านั้น ซึ่งปริมาณข้อมูลที่เข้ามายังกองทะเบียนประวัติอาชญากรวันละประมาณ ๓, ๐๐๐ ,๐๐๐ ราย เดือนละประมาณ ๗๐,๐๐๐ ราย ปีละประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ,๐๐๐,๐๐๐ ราย ซึ่งข้อมูลจะส่งเข้ามาโดยตลอด โดยระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลจะใช้เวลาประมาณ ๗ ๑๕ วัน ในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนประมาณ ๓,๐๐๐ ,๐๐๐ แผ่น
 
                   สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีหนังสือเวียนกำชับไปยังสถานีตำรวจทุกแห่งว่า คดีใดที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานต่อกองทะเบียนประวัติอาชญากรเพื่อดำเนินการจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ แต่ในทางปฏิบัติยังมีปัญหาเกี่ยวกับการรายงานผลคดี เนื่องจากบางหน่วยงานยังไม่ได้รายงานข้อมูล โดยฐานข้อมูลประวัติอาชญากรมีอยู่ประมาณ ๙,๐๐๐,๐๐๐ ราย แต่ในส่วนที่รายงานต่อกองทะเบียนประวัติอาชญากรยังมีจำนวนที่น้อยมาก ซึ่งมีจำนวนประมาณ ๒,๐๐๐ ราย ต่อเดือน ในการดำเนินการเกี่ยวกับจัดทำฐานข้อมูลประวัติอาชญากร กรณีผู้ต้องโทษที่ได้รับการอภัยโทษ การลดโทษ การนิรโทษกรรม และการล้างมลทิน กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ของบุคคลและประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๔ บทที่ ๔ การคัดแยกและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ และรายการประวัติ หรือบัญชีประวัติ ระบุว่า
 
ข้อ ๑ ให้ผู้บังคับการกองทะเบียนประวัติอาชญากร แต่งตั้งคณะกรรมการจำนวนอย่างน้อย ๓ คน ประธานกรรมการต้องมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองผู้บังคับการ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือและเอกสารที่เกี่ยวข้องทุกประเภทแยกออกจากสารบบหรือฐานข้อมูลประวัติอาชญากร ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
 
๑.๑ มีหลักฐานแน่ชัดว่าตายแล้ว เช่น ใบมรณบัตร ใบชันสูตรพลิกศพ หรือแบบรับรองรายการทะเบียนคนตายจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง เป็นต้น
 
๑.๒ ผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
๑.๓ คดีที่พนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง หรือสั่งยุติการดำเนินคดีอาญาตามระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ
 
๑.๔ ศาลสั่งยกฟ้องหรือไม่ประทับรับฟ้อง
 
๑.๕ ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง
 
๑.๖ พนักงานอัยการถอนฟ้องในชั้นศาล
 
๑.๗ เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำความผิดยกเลิกความผิดนั้น
 
๑.๘ เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ
 
๑.๙ เมื่อมีคำพิพากษาของศาลรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด
 
๑.๑๐ คดีลหุโทษ หรือคดีที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าลหุโทษ หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก หรือความผิดตามกฎหมายอื่น ๆ ที่กำหนดให้มีโทษปรับสถานเดียว ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการเปรียบเทียบปรับ หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษปรับสถานเดียว
 
๑.๑๑ คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด โดยศาลมิได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก หรือมีการเปลี่ยนโทษเป็นวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน เช่น เด็กหรือเยาวชนที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษปรับหรือมีคำสั่งให้ว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยตัวไปโดยไม่กำหนดเงื่อนไขการคุมความประพฤติ เด็กหรือเยาวชนพ้นระยะเวลาตามที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้รอการลงโทษ หรือรอการกำหนดโทษ โดยไม่กำหนดเงื่อนไขการคุมความประพฤติ เด็กหรือเยาวชนพ้นระยะเวลาการฝึกและอบรมตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลด้วยดีและศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนได้ออกใบบริสุทธิ์ให้เด็กหรือเยาวชนที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งรอการลงโทษ หรือรอการกำหนดโทษโดยกำหนดเงื่อนไขการคุมความประพฤติ หรือภายหลังปล่อยตัว แต่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้กำหนดเงื่อนไขการคุมความประพฤติต่อและสามารถพ้นการคุมความประพฤติด้วยดีตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด เป็นต้น
 
๑.๑๒ คดีตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เมื่อคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้ปล่อยตัวผู้ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแล้ว
 
ข้อ ๒ เมื่อคณะกรรมการ ได้คัดเลือกแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ ๑ แล้ว ให้ทำบัญชีรายชื่อ อายุ วันที่มีประวัติครั้งสุดท้ายของบุคคลที่ถูกพิมพ์ลายนิ้วมือ และมีชื่ออยู่ในรายการประวัติหรือบัญชีประวัติ เสนอผู้บังคับการกองทะเบียนประวัติอาชญากร เพื่อพิจารณาเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่ออนุมัติ ดังนี้
 
๒.๑ ให้ทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือและเอกสารที่เกี่ยวข้องที่คัดแยกออกจากสารบบหรือฐานข้อมูลประวัติอาชญากร ตามหลักเกณฑ์ ๑.๑
 
๒.๒ ให้คัดแยกแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์ ๑.๒ ๑.๑๒ ออกจากสารบบหรือฐานข้อมูลประวัติอาชญากร เพื่อจัดเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในทางราชการ
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่
 
๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๔ บทที่ ๔ การคัดแยกและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ และรายการประวัติหรือบัญชีประวัติ ข้อ ๑.๑๐ ที่ระบุว่า คดีลหุโทษ หรือคดีที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าลหุโทษ หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก หรือความผิดตามกฎหมายอื่น ๆ ที่กำหนดให้มีโทษปรับสถานเดียว ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการเปรียบเทียบปรับ หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษปรับสถานเดียวซึ่งข้อ ๑.๑๐ กรณีศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษปรับสถานเดียว ต้องเป็นคดีลหุโทษ หรือคดีที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าลหุโทษ หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก หรือความผิดตามกฎหมายอื่น ๆ ที่กำหนดให้มีโทษปรับสถานเดียว ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการเปรียบเทียบปรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากเป็นคดีอื่นที่นอกเหนือจากนี้จะไม่เข้าข่ายตามข้อ ๑.๑๐ โดยกรณีตามคำร้อง ศาลจังหวัดมหาสารคามได้มีคำพิพากษาลงโทษปรับผู้ร้องเป็นเงิน ๑๕๐ บาท ซึ่งศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษปรับสถานเดียว แต่เนื่องจากกรณีของผู้ร้องมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท ซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษ เนื่องจากโทษจำคุกเกินกว่าความผิดลหุโทษ (ความผิดลหุโทษ อัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) ดังนั้น กรณีของผู้ร้องจึงไม่เข้าข่ายข้อ ๑.๑๐ ตามประมวลระเบียบดังกล่าว
 
                  ในทางปฏิบัติกรณีที่เป็นคดีลหุโทษ หากพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับและได้มีการชำระค่าปรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พนักงานสอบสวนอาจจะไม่ต้องส่งข้อมูลมายังกองทะเบียนประวัติอาชญากร จึงไม่มีการบันทึกประวัติไว้ในฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากร แต่ในกรณีที่มีการส่งข้อมูลมายังกองทะเบียนประวัติอาชญากรเพื่อจัดเก็บก็จะมีการบันทึกลงในฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากร
 
ส่วนกรณีที่ผู้กระทำผิดเป็นเด็กหรือเยาวชน ในทางปฏิบัติถ้าศาลลงโทษปรับสถานเดียวหรือศาลมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือกรณีของผู้ที่ได้ร ับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หากคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดพิจารณาเห็นควรให้นำข้อมูลออกจากสารบบ ซึ่งทั้ง ๒ กรณี กองทะเบียนประวัติอาชญากรจะดำเนินการคัดแยกแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ออกจากสารบบหรือฐานข้อมูลประวัติอาชญากร
เดิมระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๔ บทที่ ๔ การคัดแยกและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ และรายการประวัติหรือบัญชีประวัติ กรณีแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ บัญชีประวัติหรือดัชนีที่เกี่ยวข้องของบุคคลที่อยู่ในข่ายทำลายได้มี ๘ รายการแต่ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขโดยเพิ่มเติมอีก ๔ รายการ ปัจจุบันมีทั้งหมด ๑๒ รายการ ซึ่งกองทะเบียนประวัติอาชญากรอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกรณีที่มีผู้ถูกกล่าวหาถูกดำเนินคดีอาญาในกรณีที่เป็นฐานความผิดเป็นเจ้าพนักงานประพฤติมิชอบในตำแหน่งหน้าที่ราชการโดยทุจริตจะถูกพนักงานสอบสวนพิมพ์ลายนิ้วมือส่งมาจัดเก็บไว้ที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร เมื่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วมีมติว่าข้อกล่าวหาใดไม่มีมูลให้ข้อกล่าวหานั้นเป็นอันตกไป ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ หมวด ๘ มาตรา ๙๑ ซึ่งกรณีดังกล่าวยังไม่มีระเบียบฉบับใดที่ให้นำข้อมูลออกจากสารบบข้อมูลประวัติอาชญากรได้ กองทะเบียนประวัติอาชญากรจึงได้รวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาเพิ่มเติมในระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๔ บทที่ ๔ การคัดแยกและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ และรายการประวัติหรือบัญชีประวัติต่อไป
 
                    ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๔ บทที่ ๔ การคัดแยกและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ และรายการประวัติหรือบัญชีประวัติ ในส่วนของข้อ ๒.๒ ที่ระบุว่า
 
ให้คัดแยกแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์ ๑.๒ ๑.๑๒ ออกจากสารบบหรือฐานข้อมูลประวัติอาชญากร เพื่อจัดเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในทางราชการนั้น การนำไปใช้ประโยชน์ในทางราชการจะนำไปใช้ในการสืบสวนและการสอบสวน หรือดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดทางอาญา เช่น การเก็บลายนิ้วมือแฝงจากสถานที่เกิดเหตุ หรือการสืบค้นข้อมูลของผู้ที่เสียชีวิตโดยไม่ทราบชื่อหรือประวัติของผู้ตาย เป็นต้น โดยการเปิดเผยข้อมูลจะเป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นการเปิดเผยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือกรณีที่หน่วยงานต่าง ๆ ขอความร่วมมือกรณีที่พบศพไม่ทราบชื่อ กองทะเบียนประวัติอาชญากรจะสืบค้นข้อมูลและแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการติดต่อญาติผู้เสียชีวิตต่อไป เป็นต้น หากเป็นกรณีที่มีบุคคลหรือบริษัทเอกชนร้องขอข้อมูลจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะมีแบบฟอร์มให้กรอกข้อมูล โดยต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจากเจ้าของข้อมูล และแนบหนังสือให้ความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลมาด้วย ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลจากกองทะเบียนประวัติอาชญากรจะต้องทำเป็นหนังสือโดยแจ้งเหตุผลความจำเป็นประกอบ โดยในการแจ้งข้อมูลไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องกองทะเบียนประวัติอาชญากรจะมีการแจ้งข้อมูลประวัติของบุคคลนั้น และฐานความผิดที่บุคคลนั้นได้กระทำด้วย โดยเม ื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ๒๕๕๑ กระทรวงยุติธรรมได้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลประวัติอาชญากร พ.ศ. .... ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยข้อมูลประวัติอาชญากร โดยปัจจุบันไม่ทราบว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีความคืบหน้าผลการดำเนินการอยู่ในขั้นตอนใด
 
               เดิมกรณีที่มีการออกหมายจับ พนักงานสอบสวนที่จับกุมตัวบุคคลนั้นได้จะต้องขออนุมัติถอนหมายจับโดยส่งข้อมูลมายังกองทะเบียนประวัติอาชญากรเพื่อขอถอนประกาศหมายจับ แต่ในปัจจุบันสถานีตำรวจแต่ละแห่งสามารถตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติอาชญากรได้ และสามารถประกาศหมายจับหรือขอถอนหมายจับได้ด้วยตนเองโดยระบบข้อมูลสารสนเทศผ่านเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ (Police) ซึ่งมีการเชื่อมต่อและปรับปรุงข้อมูลตลอดเวลา (Online) แต่จะไม่สามารถตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือได้ หากพนักงานสอบสวนต้องการตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือจะต้องส่งข้อมูลมายังกองทะเบียนประวัติอาชญากร โดยในการเข้าใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ Police จะต้องมีการระบุชื่อผู้ใช้และรหัสผู้ใช้ เพื่อจะได้ตรวจสอบข้อมูลได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้เข้าใช้และเป็นผู้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการออกประกาศหมายจับหรือการขอถอนหมายจับ ยกเว้นในบางหน่วยงาน เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กระทรวงยุติธรรม หรือกรณีการออกหมายจับใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น กองทะเบียนประวัติอาชญากรจะเป็นผู้บันทึกข้อมูลให้ เนื่องจากหน่วยงานดังกล่าวจะไม่มีชื่อผู้ใช้และรหัสผู้ใช้ทำให้ไม่สามารถเข้าใช้ระบบสารสนเทศ Police ได้ และในบางกรณีที่หน่วยงานภายนอกขอสำเนาข้อมูลจากฐานข้อมูลประวัติอาชญากรเพื่อนำไปดำเนินการสืบค้น ในกรณีนี้ข้อมูลจะไม่ได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากไม่ได้เป็นระบบ Online โดยตรง ซึ่งขึ้นอยู่กับหน่วยงานนั้นว่าจะมีการปรับปรุงข้อมูลใหม่ให้ทันสมัยและมีความรวดเร็วมากน้อยเพียงใด
 
กรณีที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับคำร้องดังกล่าวข้างต้น ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา ตามคดีหมายเลขดำที่ ๑๔๐๐/๒๕๕๒ คดีหมายเลขแดงที่ ๖๔๒/๒๕๕๔ ซึ่งมีผู้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง โดยศาลปกครองกลางได้พิจารณาตามประเด็นข้อพิพาทของผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งตามประเด็นข้อพิพาทที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำร้องข้างต้น มี ๒ ประเด็น สรุปได้ดังนี้
 
ประเด็นที่ ๑ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอำนาจจัดเก็บข้อมูลประวัติอาชญากรและแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ฟ้องคดี หรือไม่
 
               ศาลปกครองกลางพิเคราะห์แล้วเห็นว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการและมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ จึงมีฐานะเป็น หน่วยงานของรัฐส่วนข้อมูลประวัติอาชญากรและลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ฟ้องคดีมีลักษณะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวบุคคล จึงเป็น ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ดังนั้น การจัดเก็บข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลดังกล่าว สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยต้องจัดเก็บข้อมูลเท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็นเพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานเท่านั้น ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา ตามมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยข้อมูลประวัติอาชญากรและลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กระทำความผิดกฎหมายที่มีโทษทางอาญา
 
จึงเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การสืบสวน และการสอบสวน ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดทางอาญา อันเป็นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้บรรลุผลและมีประสิทธิภาพ กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลเท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็นเพื่อให้การดำเนินงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ดังนั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมีอำนาจจัดเก็บข้อมูลประวัติอาชญากรและลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ฟ้องคดีได้ตามกฎหมายดังกล่าว
 
              ประเด็นที่ ๒ พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา-ภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๐ มีผลให้ผู้ฟ้องคดีเกิดสิทธิเรียกร้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑)  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒) กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓) และผู้กำกับการฝ่ายทะเบียนประวัติอาชญากร (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔) ลบข้อมูลประวัติอาชญากรและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ฟ้องคดี หรือไม่
 
              ศาลปกครองกลางพิเคราะห์แล้วเห็นว่า มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติว่า ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้อ งโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งกระทำก่อนหรือในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆบทบัญญัติดังกล่าวในส่วนที่ระบุว่า ให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ หมายความว่า ผู้ที่ถูกลงโทษไม่เคยถูกลงโทษเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า ให้การกระทำความผิดที่เป็นเหตุให้ถูกลงโทษถูกลบล้างไปด้วย ดังนั้น กรณีของผู้ฟ้องคดีแม้จะเป็นผู้ที่ได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ ก็มีผลเพียงว่าผู้ฟ้องคดีไม่เคยถูกลงโทษในข้อหานั้น ๆ มาก่อนเท่านั้น ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า เมื่อผู้ฟ้องคดีได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงถือว่ามีกฎหมายยกเว้นโทษนั้น ประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ บทที่ ๔ ข้อ ๑.๓ กำหนดว่า แผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ บัญชีประวัติ และบัตรดัชนีที่เกี่ยวข้องของบุคคล ให้อยู่ในข่ายทำลายได้ ดังต่อไปนี้ ๑.๓.๗ เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ ซึ่งหมายถึงการกระทำอันกฎหมายบัญญัติว่า
เป็นความผิดอาญาแต่มีกฎหมายยกเว้นโทษให้กับผู้กระทำความผิด เช่น ประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติยกเว้นโทษให้กับผู้กระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง (มาตรา ๖๕) การกระทำความผิดโดยจำเป็น (มาตรา ๖๗) หรือการกระทำความผิดของเด็กอายุไม่เกิน ๑๐ ปี (มาตรา ๗๓) เป็นต้น และเมื่อมีกรณีกฎหมายยกเว้นโทษให้กับผู้กระทำความผิดแล้วศาลจะมีคำพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นไม่ได้ แต่ในกรณีของผู้ฟ้องคดีเป็นการกระทำความผิดที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดลงโทษจำคุก แม้ต่อมาจะมีการตราพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ ขึ้นใช้บังคับ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่กำหนดยกเว้นโทษให้กับผู้กระทำความผิด จึงมิใช่กฎหมายยกเว้นโทษตามข้อ ๑.๓.๗ ของประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดีดังกล่าว ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีจึงไม่อาจอ้างพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๔ ลบข้อมูลประวัติอาชญากรและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ฟ้องคดีได้
 
                นอกจากนี้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร สาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย คณะที่ ๓ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕) วินิจฉัยอุทธรณ์ว่า ไม่ต้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติลบข้อมูลประวัติอาชญากรของผู้ฟ้องคดี แต่ให้เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับโทษตามคำพิพากษาของศาลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ นั้น เห็นว่า ตามมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ บัญญัติให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาทบทวนคำสั่งทางปกครองได้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือความเหมาะสมของการทำคำสั่งทางปกครอง และอาจมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นไปในทางใดก็ได้ และมาตรา ๒๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลโดยต้องตรวจสอบแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในความรับผิดชอบให้ถูกต้องอยู่เสมอ ซึ่งจากข้อเท็จจริงในคดีนี้ แม้ว่าคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ปฏิเสธคำขอของผู้ฟ้องคดีจะเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วก็ตาม แต่ในการพิจารณาอุทธรณ์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ได้มีคำวินิจฉัยให้มีการเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับโทษตามคำพิพากษาของศาลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งย่อมมีผลทำให้ข้อมูลประวัติอาชญากรของผู้ฟ้องคดีถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในภายหลังและเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟ้องคดีเอง อีกทั้งยังเป็นไปตามมาตรา ๒๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ จึงมีอำนาจกระทำได้ตามมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และถือได้ว่าเป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน
 

r

               เมื่อคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ปฏิเสธไม่ลบข้อมูลประวัติอาชญากรและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ฟ้องคดี และคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ที่วินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ศาลปกครองกลางจึงได้พิพากษายกฟ้อง   
 
               ทั้งนี้ จากการประสานงานกับเจ้าหน้าที่สำนักงานศาลปกครองกลางได้รับแจ้งว่า กรณีดังกล่าวผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แต่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่อนุญาต ผู้ฟ้องคดีจึงมิได้มีการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดแต่อย่างใด
 
๔. รัฐธรรมนูญ พันธกรณี และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 
๔.๑ พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๐
 
                มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป
                มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
 
                ผู้ต้องโทษ”  หมายความว่า  ผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ลงโทษหรือกักกัน และให้หมายความรวมถึงผู้ถูกลงโทษโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการถูกลงโทษโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
 
มาตรา ๔ ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ
 
                มาตรา ๗ การล้างมลทินตามมาตรา ๔ และมาตรา ๕ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับการล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น
 
๔.๒ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
 
            ข้อมูลข่าวสารหมายความว่า  สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล  หรือสิ่งใด ๆ  ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ  และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้
 
            ข้อมูลข่าวสารของราชการหมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ    ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน
 
              หน่วยงานของรัฐหมายความว่า  ราชการส่วนกลาง  ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น  รัฐวิสาหกิจ  ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา  ศาลเฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี องค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ หน่วยงานอิสระของรัฐและหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
 
             เจ้าหน้าที่ของรัฐหมายความว่า  ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ
 
            ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลหมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น  การศึกษา  ฐานะการเงิน  ประวัติสุขภาพ  ประวัติอาชญากรรม  หรือประวัติการทำงาน  บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้นหรือมีเลขหมาย รหัส หรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้  เช่น  ลายพิมพ์นิ้วมือ  แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคนหรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย
 
             คณะกรรมการ”  หมายความว่า  คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
 
            มาตรา ๒๓ หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลดังต่อไปนี้
 
          (๑) ต้องจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพียงเท่าที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นเพื่อการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์เท่านั้น  และยกเลิกการจัดให้มีระบบดังกล่าวเมื่อหมดความจำเป็น
 
         (๒) พยายามเก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่จะกระทบถึงประโยชน์ได้เสียโดยตรงของบุคคลนั้น
 
       (๓) จัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา และตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องอยู่เสมอเกี่ยวกับสิ่งดังต่อไปนี้
 
              (ก) ประเภทของบุคคลที่มีการเก็บข้อมูลไว้
              (ข) ประเภทของระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
              (ค) ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ
              (ง) วิธีการขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารของเจ้าของข้อมูล
              (จ) วิธีการขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล
              (ฉ) แหล่งที่มาของข้อมูล
         (๔)  ตรวจสอบแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในความรับผิดชอบให้ถูกต้องอยู่เสมอ
        (๕) จัดระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันมิให้มีการนำไปใช้โดยไม่เหมาะสมหรือเป็นผลร้ายต่อเจ้าของข้อมูล
 
          ในกรณีที่เก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล  หน่วยงานของรัฐต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบล่วงหน้าหรือพร้อมกับการขอข้อมูลถึงวัตถุประสงค์ที่จะนำข้อมูลมาใช้ ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ และกรณีที่ขอข้อมูลนั้นเป็นกรณีที่อาจให้ข้อมูลได้โดยความสมัครใจหรือเป็นกรณีมีกฎหมายบังคับ
 
           หน่วยงานของรัฐต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบในกรณีมีการให้จัดส่งข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไปยังที่ใดซึ่งจะเป็นผลให้บุคคลทั่วไปทราบข้อมูลข่าวสารนั้นได้ เว้นแต่เป็นไปตามลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ
 
         มาตรา  ๒๔  หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยดังต่อไปนี้
 
       (๑) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตน เพื่อการนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น
       (๒) เป็นการใช้ข้อมูลตามปกติภายในวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนั้น
       (๓) ต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำงานด้วยการวางแผน หรือการสถิติ หรือสำมะโนต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่ต้องรักษาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไว้ไม่ให้เปิดเผยต่อไปยังผู้อื่น
       (๔) เป็นการให้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย โดยไม่ระบุชื่อหรือส่วนที่ทำให้รู้ว่าเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลใด
       (๕) ต่อหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง เพื่อการตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษา
       (๖) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อการป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การสืบสวน การสอบสวน หรือการฟ้องคดี ไม่ว่าเป็นคดีประเภทใดก็ตาม
 
      (๗) เป็นการให้ซึ่งจำเป็น เพื่อการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคล
 
      (๘) ต่อศาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าว
 
     (๙) กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
 
    การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่ง (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙)  ให้มีการจัดทำบัญชีแสดงการเปิดเผยกำกับไว้กับข้อมูลข่าวสารนั้น  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
 
๔.๓ ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๔
 
บทที่ ๔ การคัดแยกและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ และรายการประวัติหรือบัญชีประวัติ
 
ข้อ ๑ ให้ผู้บังคับการกองทะเบียนประวัติอาชญากร แต่งตั้งคณะกรรมการจำนวนอย่างน้อย ๓ คน ประธานกรรมการต้องมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองผู้บังคับการ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือและเอกสารที่เกี่ยวข้องทุกประเภทแยกออกจากสารบบหรือฐานข้อมูลประวัติอาชญากร ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
 
                ๑.๑ มีหลักฐานแน่ชัดว่าตายแล้ว เช่น ใบมรณบัตร ใบชันสูตรพลิกศพ หรือแบบรับรองรายการทะเบียนคนตายจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง เป็นต้น
 
                ๑.๒ ผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
 
                ๑.๓ คดีที่พนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง หรือสั่งยุติการดำเนินคดีอาญาตามระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ
 
                ๑.๔ ศาลสั่งยกฟ้องหรือไม่ประทับรับฟ้อง
 
                ๑.๕ ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง
 
                ๑.๖ พนักงานอัยการถอนฟ้องในชั้นศาล
 
                ๑.๗ เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำความผิดยกเลิกความผิดนั้น
 
                ๑.๘ เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ
 
                ๑.๙ เมื่อมีคำพิพากษาของศาลรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด
                ๑.๑๐ คดีลหุโทษ หรือคดีที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าลหุโทษ หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก หรือความผิดตามกฎหมายอื่น ๆ ที่กำหนดให้มีโทษปรับสถานเดียว ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการเปรียบเทียบปรับ หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษปรับสถานเดียว
 
                ๑.๑๑ คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด โดยศาลมิได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก หรือมีการเปลี่ยนโทษเป็นวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน เช่น เด็กหรือเยาวชนที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษปรับหรือมีคำสั่งให้ว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยตัวไปโดยไม่กำหนดเงื่อนไขการคุมความประพฤติ เด็กหรือเยาวชนพ้นระยะเวลาตามที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้รอการลงโทษ หรือรอการกำหนดโทษ โดยไม่กำหนดเงื่อนไขการคุมความประพฤติ เด็กหรือเยาวชนพ้นระยะเวลาการฝึกและอบรมตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลด้วยดีและศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนได้ออกใบบริสุทธิ์ให้เด็กหรือเยาวชนที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งรอการลงโทษ หรือรอการกำหนดโทษโดยกำหนดเงื่อนไขการคุมความประพฤติ หรือภายหลังปล่อยตัว แต่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้กำหนดเงื่อนไขการคุมความประพฤติต่อและสามารถพ้นการคุมความประพฤติด้วยดีตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด เป็นต้น
 
                 ๑.๑๒ คดีตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เมื่อคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้ปล่อยตัวผู้ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแล้ว
ข้อ ๒ เมื่อคณะกรรมการ ได้คัดเลือกแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ ๑ แล้ว ให้ทำบัญชีรายชื่อ อายุ วันที่มีประวัติครั้งสุดท้ายของบุคคลที่ถูกพิมพ์ลายนิ้วมือ และมีชื่ออยู่ในรายการประวัติหรือบัญชีประวัติ เสนอผู้บังคับการกองทะเบียนประวัติอาชญากร เพื่อพิจารณาเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่ออนุมัติ ดังนี้
 
                ๒.๑ ให้ทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือและเอกสารที่เกี่ยวข้องที่คัดแยกออกจากสารบบหรือฐานข้อมูลประวัติอาชญากร ตามหลักเกณฑ์ ๑.๑
 
                ๒.๒ ให้คัดแยกแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์ ๑.๒ ๑.๑๒ ออกจากสารบบหรือฐานข้อมูลประวัติอาชญากร เพื่อจัดเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในทางราชการ
 
๕. ความเห็นคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
 
              ๕.๑ ความเห็นคณะอนุกรรมการฯ คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ได้พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยตลอดแล้วเห็นว่า มีประเด็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัย คือ
ผู้ร้องอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สามารถลบทะเบียนประวัติอาชญากรและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือตามประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๔ บทที่ ๔ หรือไม่ อย่างไรคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๔ บทที่ ๔ การคัดแยกและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ และรายการประวัติหรือบัญชีประวัติ ข้อ ๑ กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการพิจารณาคัดเลือกแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือและเอกสารที่เกี่ยวข้องทุกประเภทแยกออกจากสารบบหรือฐานข้อมูลประวัติ
 
อาชญากร โดยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ๑๒ รายการ  และข้อ ๒ เมื่อคณะกรรมการฯ ได้คัดเลือกแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ๑๒ รายการแล้ว กรณีที่สามารถทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือและเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ข้อ ๑.๑ คือ มีหลักฐานแน่ชัดว่าตายแล้ว เช่น ใบมรณบัตร ใบชันสูตรพลิกศพ หรือแบบรับรองรายการทะเบียนคนตายจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง เป็นต้น
 
ส่วนกรณีข้อ ๑.๒ ๑.๑๒ ให้มีการคัดแยกแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือและ เอกสารที่เกี่ยวข้องออกจากสารบบหรือฐานข้อมูลประวัติอาชญากร เพื่อจัดเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในทางราชการ ซึ่งในการเปิดเผยข้อมูลจะเป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยเป็นการเปิดเผยข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา  ๒๓ ที่วางหลักไว้ว่า หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลซึ่งต้องจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพียงเท่าที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นเพื่อการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และยกเลิกการจัดให้มีระบบดังกล่าวเมื่อหมดความจำเป็น ส่วนการเปิดเผยข้อมูลกับภาคเอกชน ผู้ขอข้อมูลจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด และจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน จึงจะสามารถเปิดเผยข้อมูลได้ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๒๔ ที่วางหลักไว้ว่า หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นไปตามข้อยกเว้นที่กฎหมายกำหนด
 
กรณีของผู้ร้องเป็นความผิดฐานไม่รับหมายเรียกเข้าตรวจเลือกเป็นทหาร ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๒๕ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เนื่องจากมิใช่ความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว แม้ศาลจังหวัดมหาสารคามได้มีคำพิพากษาลงโทษปรับผู้ร้องเป็นเงิน ๑๕๐ บาท ก็ไม่ทำให้กลับกลายเป็นความผิดที่มีเป็นโทษปรับสถานเดียว และกรณีดังกล่าวมิใช่ความผิดลหุโทษ หรือคดีที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าลหุโทษ หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก หรือความผิดตามกฎหมายอื่น ๆ ที่กำหนดให้มีโทษปรับสถานเดียว ตามข้อ ๑.๑๐ ของระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๔ บทที่ ๔ การคัดแยกและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ และรายการประวัติหรือบัญชีประวัติ ซึ่งกรณีของผู้ร้องไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ข้อ ๑.๑๐ และไม่ต้องตามประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๔ บทที่ ๔ ทั้ง ๑๒ รายการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงไม่สามารถดำเนินการลบทะเบียนประวัติอาชญากรและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือให้กับผู้ร้องได้
 
ในส่วนที่ผู้ร้องได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งผู้ร้องเป็นผู้ต้องโทษ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ และได้รับการล้างมลทินโดยถือว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนี้ แต่มิได้หมายความว่าผู้ร้องมิเคยกระทำความผิดนั้น ๆ  และไม่ได้หมายความว่า การกระทำความผิดที่เป็นเหตุให้ถูกลงโทษถูกลบล้างไปด้วย ดังนั้น กรณีแม้จะเป็นผู้ที่ได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ ก็มีผลเพียงว่าผู้ร้องไม่เคยถูกลงโทษในข้อหานั้น ๆ มาก่อน
 
เท่านั้น โดยไม่มีผลให้เกิดสิทธิเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลบข้อมูลประวัติอาชญากรและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ร้อง เนื่องจากพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่กำหนดยกเว้นโทษให้กับผู้กระทำความผิด จึงมิใช่กฎหมายยกเว้นโทษตามข้อ ๑.๓.๗ ของประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๔ บทที่ ๔ ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลบข้อมูลประวัติอาชญากรและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ร้องได้
 
ความคิดเห็นที่ 3 (3382132)

 ขอบคุณมากเลยคับ.....ผมสบายใจขึ้นเยอะเลย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น หมู (mhoo--7-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2013-06-25 15:04:34 IP : 125.24.116.24


ความคิดเห็นที่ 4 (3382440)

 อืม....แล้วแบบนี้ที่มีคนบอกว่าประวัติคนที่ทำงานราชการต้องไม่มี.......ไม่งั้นไม่ผ่านมานยังไงคับ

ผู้แสดงความคิดเห็น หมู (mhoo--7-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2013-06-27 23:23:24 IP : 125.24.128.128


ความคิดเห็นที่ 5 (4184276)

 คดีขึ้นโรงพักว่าทำร้ายร่างกายเขาโดยเราป้องกันตัว จบที่ตำรวจตั้งแต่ปี2543 ทำไมตำรวจยังส่งข้อมูลไปส่วนกลางไม่ลบออกให้ผม ผมถูกไล่ออกจากงาน แล้วทางรัฐจะช่วยผมยังไงครับเงินเดือนผม40000ครับจะมีผล ก.ย2562ทั้งที่ผมผ่านการทดลองงานแล้วครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ธีระศักดิ์ (Teerasak998899-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2019-08-31 07:36:47 IP : 182.232.9.213


ความคิดเห็นที่ 6 (4205038)

 สอบถาม ตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ 2457 มาตรา 12 (11) ได้ระบุคุณสมบัติของผู้ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ว่าจะต้อง มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามกล่าวคือ  “ไม่เป็นผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน” 

น้องชายเป็นผู้สมัครหมายเลข 1 แต่เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2546 ได้ถูกศาลจังหวัดนครสวรรค์ พิพากษาว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน จำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้ 2 ปี  (ฐานพกพาอาวุธปืนไม่ได้รับอนุญาต ไปในเมืองหมู่บ้านและทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร) 

แบบนี้แล้วน้องชายจะมีสิทธิเป็นผู้ใหญ่บ้านได้ไม๊ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น kook_Zy (kook-dot-aoei-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2020-09-08 15:37:46 IP : 61.7.144.77


ความคิดเห็นที่ 7 (4210436)

 ถ้าเคยมีคดีเสพแต่ไม่ไปรายงานตัวที่คุมประพฤติ ตอนนี้ได้รับบรรจุให้เป็นลูกจ้างประจำ จะต้องขอใบรับรองพฤติกรรมที่กรมตำรวจ จะมีผลอะไรมั้ย

ผู้แสดงความคิดเห็น คนคนนึง วันที่ตอบ 2020-11-30 02:18:23 IP : 58.8.176.200



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล